เจาะทำเลทองมิกซ์ยูส ผังเมืองรวมกทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) เค้าเปิดแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ 3 สาย ผ่ากลางเมือง จุดพลุทำเลทองศูนย์กลางธุรกิจใหม่ มีนบุรี พระราม 9 -รัชดาฯ ดันราคาที่ดินพุ่ง พลิกโฉมเมืองแบบสุด ๆ ไปเลยนะ
โดยการปรับปรุงผังเมืองรวมครั้งนี้ ได้เพิ่มความถี่ของการใช้ประโยชน์ที่ดินสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้มากกว่า ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 เนื่องจาก กายภาพพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความเจริญขยายตัวเกิดขึ้น จากรถไฟฟ้า ที่สำคัญ ผังเมืองรวม ยังกำหนดแนวเขตทาง ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ในอนาคตไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นประชาชนเจ้าของที่ดินจะต้องเว้นระยะถอยร่น หรือตรวจสอบข้อกำหนดทางผังเมือง ก่อน ก่อสร้างอาคาร
ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-ปากท่อ สายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ/พระโขนง-พระราม 3 และสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร จุดพลุทำเลทองใหม่ เช่นเดียวกับ โครงข่ายถนนสายสำคัญ 148 เส้นทาง เพื่อขยายเขตทางในอนาคตหากเกิดแออัดคับคั่ง ไม่ว่าแนวเขตทางจะพาดผ่านที่ดินแปลงใด เจ้าของที่ดินต้องเว้นระยะถอยร่นตามขนาดเขตทาง ก่อนขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
สำหรับ ทำเลที่น่าจับตาได้แก่บริเวณสถานีร่วมมีนบุรีเพิ่มพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) ที่มีพื้นที่เป็นรองแค่ย่านศูนย์กลางเมืองอย่าง สุขุมวิท เพลินจิต ชิดลม สีลม สาทรฯลฯซึ่งจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหม่รับการเจริญเติบโตจากการมาของรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพู จุดพลุทำเลทองใหม่ที่น่าจับตาเชื่อมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า โครงข่ายถนน ทางพิเศษ (ทางด่วน)
เข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวก และขยายการพัฒนาที่อยู่อาศัยแหล่งงานมาอยู่ย่านชานเมือง ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบแนวสูง โครงการมิกซ์ยูส โดยมีพื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) เป็นวงล้อมรอบพื้นที่สีแดง ปัจจุบันราคาที่ดินขยับไปไกล มากกว่า 2 แสนบาทต่อตารางวา
อีกทำเลที่น่าจับตาคือพระราม 9 ตัดรัชดาภิเษก ถึงบริเวณศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา ซึ่งย่านดังกล่าวเต็มไปด้วยอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นทั้งย่านแหล่งงานที่อยู่อาศัย แหล่งบันเทิงช้อปปิ้งในตัวเอง
ที่ไหลบ่ามาจากย่านสุขุมวิทโดยมีไฮไลต์ สถานีร่วมรถไฟฟ้าสองสาย MRT ใต้ดินสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินตัดกันแห่งแรกของไทย คอยรับส่งผู้โดยสารเข้าสู่เขตกทม. ชั้นใน โดยทำเลดังกล่าว ปรับจากพื้นที่สีน้ำตาล (ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นมาก) เป็นพื้นที่สีแดง เพิ่มศักยภาพพัฒนาเป็นเมืองมิกซ์ยูส ปัจจุบันมีที่ดินแปลงใหญ่รอพัฒนาหลายแปลง โครงการขนาดใหญ่ทยอยเกิดขึ้นทั้งโครงการอาคารสำนักงาน AIA รัชดาฯ 2 ซึ่งมีเนื้อที่ 8 ไร่ และที่ดินรอพัฒนาของกลุ่มโรงพยาบาลชื่อดัง
ที่มีเป้าหมายพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้ากว่า 10 ไร่ รวมถึงแปลงที่ดินของแหลมทองค้าสัตว์ 24 ไร่ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค เตรียมพัฒนาศูนย์การค้าอาคารสำนักงาน เช่นเดียวกับ บมจ.เช็นทรัลพัฒนารอพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ ขณะราคาที่ดินปัจจุบันวิ่งไปที่ 1-2 ล้านบาทต่อตารางวา ที่เชื่อมต่อกับย่านมักกะสันเมืองไฮสปีดเทรนและศูนย์คมนาคมแห่งใหม่ที่จะเป็นพื้นที่สีแดง
อีกทำเลที่พูดถึงกันมาก คือ ย่านพหลโยธิน ทำเลศักยภาพ แนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ที่ถูกพลิกโฉม จากพื้นที่สีส้มเป็นส่วนใหญ่ยกระดับเป็นพื้นที่สีน้ำตาล ส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ปัจจุบันถูกกำหนดเป็นพื้นที่สีแดงอยู่ก่อนแล้ว รวมถึงสถานีกลางบางซื่อ โดยราคาที่ดินอยู่ที่กว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวาขึ้นไป และทำเลที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด
นอกจาก ย่านพหลโยธินแล้วยังเป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้า อย่าง สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง ) ถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วน) รองรับสายสีเทา (วัชพล-ทองหล่อ) ถนนรามอินทรา สายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) กลุ่มนี้ ถูกยกระดับจากพื้นที่สีเหลือง (ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เป็นพื้นที่สีส้ม พัฒนาพื้นที่ขายเชิงพาณิชย์ที่มีความถี่เพิ่มขึ้น หรือพัฒนาตึกสูงได้ เช่นเดียวกับสายสีม่วงใต้ ทำเลราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ที่เปลี่ยนแปลงมากเช่นกัน
ส่วนสายสีน้ำเงินต่อขยายไปฝั่งธนบุรี ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากพื้นที่สีเหลืองเป็นพื้นที่สีส้มโดยเฉพาะทำเล จุดตัดรถไฟฟ้า 3 สาย สถานีบางขุนนนท์ สายสีส้ม สายสีแดงและ สายสีน้ำเงิน ที่กำหนดเป็นพื้นที่สีแดงและสีน้ำตาลพัฒนาเชิงพาณิชย์ ฮับการเดินทางและการอยู่อาศัยโซนที่เปลี่ยนแปลงพัฒนาได้มากขึ้นได้แก่ โซนตะวันตกและตะวันออกของกทม.
โดยเฉพาะการยกเลิกพื้นที่แนวฟลัดเวย์ เขตคลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง พื้นที่ขาวทแยงเขียว (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม จาก 90,000 ไร่เหลือ เพียง 20,000 กว่าไร่ เปิดพื้นที่พัฒนาบ้านจัดสรรได้ 100 ตารางวา และ 50 ตารางวาตามลำดับ จากเดิมต้องใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า1,000 ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ เพื่อพัฒนาบ้านจัดสรร
รายงานจากกทม.วิเคราะห์ว่า ทำเลที่น่าจับตา มี 3 ทำเลทางตอนเหนือของ กทม.ได้แก่ รัชโยธิน รัชวิภาและปากทางลาดพร้าว (ห้าแยกลาดพร้าว) ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหม่ในย่านนี้
Tag :
นอกจากทำเลติดถนนพระรามสี่อันโดดเด่นแล้ว ความน่าสนใจของ "The Crown Residences" แห่งนี้ ก็คือ "วิว" ที่หาได้ยากกกมว๊ากกกนี่ละ
ตอนที่ ‘The Line วงศ์สว่าง’ ขายหมด ผมยังคิดอยู่เลยว่า ‘แสนสิริ’ น่าทำโครงใหม่เส้นสีม่วงเพิ่มอีก หลายคนไม่ชอบรถไฟฟ้าเส้นนี้ แต่ในฐานะ ‘ชาวนนทบุเรี่ยน‘ ผมยังเชียร์คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสถานีที่ถัดจากสถานี ‘เตาปูน’ ไปสัก 3-4 สถานีอยู่นะ
นี่คือคอนโดใหม่แกะกล่อง ที่อยู่ใกล้กับ "บางหว้า" สถานีรถไฟฟ้า interchange ของ 2 สายที่คนใช้งานเยอะที่สุด อย่างสายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน
อ้าว!! โกวศุ สอยไปซะแล้ววว ที่ดินข้างๆ ซอยตากสิน 14 ที่ก่อนหน้านี้ ตรงนี้เป็นที่ดินที่ 'แสนสิริ' จะสร้างเป็นโครงการ 'NYX by Sansiri' ก่อนจะยุบโครงการภายหลัง
นานๆ ทีจะมีคอนโดท่าพระโผล่มา เพราะจะว่าไปดีเวลลอปเปอร์มักจะขยับไปตั้งโครงการกันทางโซน สถานีจรัญ-บางพลัด กันมากกว่า
ไม่ทำแล้วมิกซ์ยูส ทำคอนโดดีกว่า เพราะทำเลมันสวยด้วยความชิดติดริมถนนพหลฯ แบบนี้
ทำไมเพิ่งเคยได้ดูรายการนี้นะ! มันดีจริงๆ นะ เพราะน้องเป้น่ารักมั่กๆ เอ้ย! เพราะรายการเค้ามีประโยชน์มั่กๆ ต่างหาก ‘AP The Space Maker’
แวะไปจิบกาแฟพร้อมเลือกหนังสือดีๆ สักเล่ม ที่ "ร้านหนังสือริมขอบฟ้า" Book cafe ที่ฮอตที่สุดในตอนนี้!
ยังรู้สึกเหมือนเพิ่งได้เห็นหน้า คุณเบลล่า ราณี ที่มาเปิดร้านคาเฟ่ "Jo’s 365" แสนอร่อย ที่ตั้งอยู่ใน Sales Gallery ของ "Reference Sathorn-Wongwianyai" ได้ไม่ทันไรเลย
คอนโดใจกลางอโศก 175,000 บ./ตร.ม.?! ไม่อยากเชื่อสายตา จนต้องอ่านซ้ำ 3 รอบ 555 ราคาอย่างกับย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน
เอาจริงกดดันเหมือนกันนะ สำหรับโครงการที่สร้างมาตรฐานไว้สูงอยู่แล้ว เมื่อออกมาบอกว่าจะปรับใหม่นี่ก็ย่อมเป็นที่น่าจับตา
ล่าสุดประเทศบราซิลเตรียมสร้าง 'หอคอยเซนนา' (Senna tower) ตึกระฟ้าที่จะมาเป็นหอคอยที่อยู่อาศัยที่สูงที่สุดในโลก (ไม่ใช่ตึกที่สูงที่สุดในโลกนะ)