ถ้าคุณคิดว่าตลาดอสังหาปีนี้หนักแล้ว ปีหน้ากูรูเค้าว่าของจริง!! ล่าสุดสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ส่องสัญญาณตลาดรับสร้างบ้านปี 2568 เผชิญหน้าความท้าทายต่อเนื่อง พร้อมงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันรุนแรง เจาะช่องหาตลาดใหม่ในต่างจังหวัด พร้อมขานรับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เตรียมพร้อมรอวันตลาดฟื้นตัว
นายโอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เผยว่าสถานการณ์ภาพรวมตลาดรับสร้างบ้าน ปี 2568 โดยรวมสัญญาณค่อนข้างดีขึ้นจากปัจจัยสนับสนุน ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ย ผู้บริโภคกลับมามีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ส่งผลให้ผู้ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยเริ่มกลับมาตัดสินใจสั่งสร้างบ้านใหม่กันมากขึ้น
ขณะที่ภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านในปี 2567 เป็นปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ค่าครองชีพสูงจากต้นทุนสินค้าที่ปรับตัว ส่งผลต่อรายได้ของผู้บริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มที่กำลังวางแผนสร้างบ้านชะลอการตัดสินใจออกไป ทำให้คาดการณ์มูลค่ารวมยอดเซ็นสัญญาสั่งสร้างบ้านของบริษัทรับสร้างบ้าน (ที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ) ในสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 11,000 ล้านบาท จากเป้าหมายต้นปี 2567 วางไว้ 12,000 ล้านบาท
ส่อง "3 โอกาส" ตลาดรับสร้างบ้าน แม้ว่าภาพรวมตลาดยังรอจังหวะฟื้นตัวของกำลังซื้อ แต่ในเซ็กเมนต์บ้านระดับราคา 5 – 10 ล้านบาท และบ้านระดับราคา 20 ล้านบาท กลับได้รับความสนใจมากขึ้นจากผู้ที่กำลังวางแผนสร้างบ้าน นับจากยอดสั่งสร้างบ้านภายในงานรับสร้างบ้านและวัสดุ Expo 2024 ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2567
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลง ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจสร้างบ้าน รวมไปถึงการรุกทำตลาด และรับคำสั่งสร้างบ้านในต่างจังหวัดมากขึ้น จากเดิมที่บริษัทรับสร้างบ้าน (ที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ) จะเน้นเจาะตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นหลัก จึงเป็นโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568
จากความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวยังคงเป็นสิ่งที่สมาคมฯ จับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งปัญหาการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อในระดับกลางถึงล่าง อาจประสบปัญหาการจัดการหนี้สิน ทำให้ยกเลิกหรือชะลอการสร้างบ้านออกไป ขณะที่ปัจจัยด้านการแข่งขันในตลาดรับสร้างบ้านก็มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในปี 2568 ทั้งจากบริษัทรับ สร้างบ้านด้วยกันเอง และจากบริษัทผู้รับเหมาอาคารสูง เช่น โครงการคอนโด ที่หันมารับงานรับสร้างบ้านกันมากขึ้น
อย่างไรก็ดียังมีความคาดหวังจะได้เห็นสัญญาณที่ดีในปี 2568 หรือ ประมาณไตรมาส 2 เป็นต้นไป จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รวมถึงเป็นผลตอบรับจากปัจจัยบวกจากแรงจูงใจด้านการลดหย่อนภาษีการสร้างบ้าน สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน มูลค่า 1 ล้านบาท สามารถหักลดหย่อนภาษี 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท (ราคาไม่ เกิน 10 ล้านบาท) โดยเป็นบ้านสั่งสร้างที่มีการเซ็นสัญญา และเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 9 เมษายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2568 อีกทั้ง การปรับกลยุทธ์ของบริษัทรับสร้างบ้านที่ตอบโจทย์ความต้องการบ้านแนวคิดใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบสมาร์ทโฮม บ้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Homes) และบ้านประหยัดพลังงาน
Tag :
"MARU CHULA" สรุป สิ่งที่ควรรู้ของคอนโดใหม่จากค่าย Major
ว่ากัน 'ซอยหลังสวน' เปรียบเสมือน "แมนฮัตตันแห่งกรุงเทพฯ" คำกล่าวนี้ผมว่าไม่เกินจริงเลยนะ เพราะซอยหลังสวน ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่มีราคาที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทย และมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องทุกปี!!
นี่คือคอนโดที่ใกล้ "ลานชมเมืองภูเก็ต" บนเขารังมากที่สุด ทำให้คุณเห็นวิวเมืองภูเก็ตสวยๆตัดภูเขา ทะเล และท้องฟ้า ได้อย่างเต็มตา
โครงการใหม่แกะกล่องจาก 'เสนาดีเวลลอปเมนท์' มีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองตัดผ่าน ถือว่ายังเดินทางง่ายๆ ชิลๆ
คอนโดสูงติดถนนพระราม 3 จาก 'ไทย ยูเนี่ยน พร้อพเพอร์ตี้ ดิเวลลอปเม้นท์' ที่ตอนนี้กำลังสร้างสำนักงานขาย วันที่ผมไปนี้จวนจะเสร็จแล้วนะ
นี่คือคอนโดใหม่จาก 'AP' ต้อนรับปีมะเส็งครับ จริงๆ จะบอกว่าเป็นโครงการเปิดปีก็ยังไงอยู่ จริงๆ ตัวนี้มาตั้งแต่ช่วงปลายๆ ปีแล้วครับ แม้จะมาแบบเงียบๆ แต่เห็นเปิดเว็บไซต์ให้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วนะ
ในช่วง 3-4 ปีนี้ ผมรู้สึกได้ว่า เทรนด์การพัฒนาโครงการบ้าน มีการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะตลาดของบ้านเดี่ยว Luxury
มีข่าวมีคราวมานานแต่ไม่ได้มีโอกาสแวะไปดูเท่าไหร่ วันนี้ผ่านไปช่วง "เจริญกรุง" พอดี เลยเดินเลยไปดูสักนิด
นี่คือความโรแมนติกที่ดื่มด่ำ แถมอร่อยด้วย รู้ยัง คริสปี้ ครีม เค้าออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ต้อนรับวาเลนไทน์ ชวนคุณมาบอกรักด้วย Sweet Sips for Sweethearts Perfect Together
Next Station วาเลนไทน์ เผลอแป๊บเดียว จากปีใหม่ ไปตรุษจีน แปปๆ มาละจ้าา เทศกาลแห่งความรัก
PM 2.5 ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย และไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลกใบนี้ วันนี้ผมเลยอยากหยิบเอา 5 ประเทศที่เคยเจอปัญหา PM 2.5 เรามาอ่านดูครับ ว่าแต่ละประเทศใช้มาตรการไหนแก้ปัญหานี้กันนะ
นี่คือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งอยู่ในย่านการเงินคิงอับดุลลาห์ (KAFD) และได้รับการออกแบบสถานีโดย Zaha Hadid Architects (ZHA)