ไหน มีใครได้ไปใช้บริการรถไฟฟ้าฟรีกันมาบ้าง จริงๆ ช่วงที่เค้ามีนโยบายนี้ผมก็ไปใช้บริการนะ ต้องบอกว่าผมเป็นหนึ่งในคนที่ใช้รถไฟฟ้าเป็นประจำอยู่แล้วแหละ
ดังนั้นจึงสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า พอมีนโยบายนี้ คนมาใช้บริการรถไฟฟ้าขึ้นเยอะจริงๆ
แต่นโยบายรถไฟฟ้าฟรีของรัฐบาล เพื่อลดการใช้รถส่วนตัว อันเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศ หรือแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ก็มีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบแหละครับ หลากหลายความคิดเห็น
แต่จริงๆ ช่วง 7 วันหลังจากประกาศนโยบายรถไฟฟ้าฟรี ก็มีค่าฝุ่นน้อยลงจริงๆ ครับ ซึ่งมันเกิดจากปัจจัยอื่นด้วยน่ะสิ เพราะจู่ๆ ก็มีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้
ทำให้พระแม่เอลซ่ากลับมาทำงานที่ประเทศไทยอีกครั้งพร้อมปัดเป่าฝุ่นจิ๋วให้ลอยยย จับเอาเธอนั้นไปลอยทะเลลลล เรียบร้อย
ซึ่งไม่ว่าฝุ่นช่วงนี้จะหายไปด้วยวิธีใดมากกว่ากัน มันก็นับว่าเป็นเรื่องดีครับ คือหายๆ ไปเหอะ เดินออกจากบ้านทีนึกว่าอยู่ใน Silent hill
แม้ว่าตอนนี้ PM 2.5 จะหายไป แต่ใช่ว่าจะหายไปแบบถาวร ถ้าขาดการแก้ปัญหาที่ดี ยังไงพี่แกก็มาตามนัด เพราะปัญหาฝุ่นไม่ใช่ปัญหาใหม่ของบ้านเรา การเผชิญกับมลภาวะทางอากาศเป็นเรื่องที่เราต้องเจอกันอยู่ตลอด บ่อยครั้งที่สภาพอากาศในประเทศไทย แย่ติดอันดับต้นๆ ของโลก บางช่วงทะยานไปอันดับหนึ่งเลยก็มี
และในหลายปีมานี้ บ้านเราก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้แบบเบ็ดเสร็จ กลับกันสถานการณ์กลับยิ่งทวีคูณความรุนแรงขึ้นทุกปี
PM 2.5 ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย และไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลกใบนี้ ก่อนหน้านี้มีหลายประเทศที่เคยเผชิญปัญหานี้เหมือนเราครับ แต่สุดท้ายก็สามารถผ่านพ้นปัญหานี้ไปได้ บางประเทศอาจเป็นประเทศที่เราคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ
วันนี้ผมเลยอยากหยิบเอา 5 ประเทศที่เคยเจอปัญหา PM 2.5 เรามาอ่านดูครับ ว่าแต่ละประเทศใช้มาตรการไหนแก้ปัญหานี้กันนะ
1. ประเทศจีน
เริ่มต้นที่ประเทศแรกอย่างประเทศจีน จีนเคยเป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับวิกฤตมลพิษทางอากาศ หากเรานึกย้อนไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าคงมีหลายคนที่เคยอ่านข่าวว่า คนจีนถึงขั้นต้องซื้อ “ถุงอัดอากาศ” เพื่อใช้หายใจกันมาแล้ว
แต่ปัจจุบัน ประเทศที่ประชากรถึงขั้นต้องซื้ออากาศเพื่อหายใจนี้ สามารถผ่านพ้นปัญหานี้มาได้ ด้วยการแก้ปัญหาจากรัฐบาลจีนด้วยการออกมาตรการให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่รอบเมืองปักกิ่งระงับการผลิต และทำการย้ายโรงงานไปยังพื้นที่อื่น มีการตั้งหน่วยงานตำรวจสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจสอบโรงงานอย่างเข้มงวด และที่สำคัญคือมีการลงโทษโรงงานที่ฝ่าฝืนกฎอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษ รวมถึงการลดการใช้พลังงานถ่านหิน ส่งเสริมพลังงานสะอาดอย่างพวกพลังงานธรรมชาติ อาทิ แสงอาทิตย์และพลังงานลม มาตรการเหล่านี้
2. ประเทศอินเดีย
อินเดียถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องมลพิษทางอากาศที่สูงเกินค่ามาตรฐานมาอย่างยาวนาน ต้องบอกว่าปัจจุบันอินเดียก็ยังคงเผชิญปัญหานี้อยู่เรื่อยๆ แต่ก็ลดลงกว่าแต่ก่อน เอาจริงหลายๆ ช่วงมลพิษทางอากาศประเทศไทยเราก็ชนะอินเดียขาดลอยเหมือนกันนะครับ โดยเฉพาะช่วงหลังๆ มานี้
แม้ยังมีปัญหานี้อยู่บ้างในบางช่วง แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันความรุนแรงของสภาวะมลพิษทางอากาศของอินเดียก็ลดลงอย่างน่าสนใจเลยทีเดียว โดยอินเดียใช้มาตรการแก้ปัญหาด้วยการตั้งโครงการโครงการปฏิบัติการอากาศสะอาดแห่งชาติ ด้วยการติดตั้งสถานีตรวจสอบคุณภาพอากาศใน 102 เมืองทั่วประเทศ โดยโครงการนี้ยังได้รับความร่วมมือกับอีกหลายหน่วยงานทั่วโลก รวมถึงการออกนโยบายจำหน่ายดอกไม้ไฟสำหรับใช้ในพิธีเฉลิมฉลองให้เป็นดอกไม้ไฟที่มีควันน้อยเท่านั้น และกำหนดช่วงเวลาในการจุดดอกไม้ไฟในการฉลองเทศกาลสำคัญของชาวฮินดูให้เหลือเพียง 2 ชม. เท่านั้น
3. ประเทศเกาหลีใต้
ใช่ครับ ประเทศเกาหลีใต้ช่วงหนึ่งเคยต้องเผชิญปัญหา PM 2.5 เหมือนกัน จริงๆ ผมเคยดูซีรีส์หลายเรื่องนะ บางเรื่องจะมีแบบว่าตัวละครจะเช็คสภาพอากาศว่ามีฝุ่นหรือเปล่า คือเห็นหลายเรื่องเลย ทีแรกก็งงครับ แต่ก็มาอ๋อ เพราะประเทศเค้าเคยเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5 มาก่อน ประชาชนเลยตื่นตัวเรื่องนี้กัน (ซึ่งก็คงเหมือนประเทศเราตอนนี้แหละ)
โดยเกาหลีใต้เผชิญกับวิกฤตมลพิษทางอากาศช่วงประมาณปี 2016 ซึ่งดูๆ แล้ว เจอพร้อมๆ ไทยเหมือนกันนะ แต่ปัจจุบันเกาหลีใต้มีการแก้ปัญหาโดยมีการสั่งปิดหน่วยงานรัฐ และจำกัดการใช้รถยนต์ของพนักงานรัฐ ออกกฎหมายควบคุมยานพาหนะจำกัดการใช้งานรถยนต์เก่า เพื่อให้ประชาชนหันไปใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น และจัดการโรงงานในหลายพื้นที่ มีการสั่งลดการผลิต เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นและจีนเพื่อลดมลพิษข้ามพรมแดนอีกด้วย
4. ประเทศอังกฤษ
เชื่อไหมครับว่าลอนดอน เมืองหลวงของประเทศอังกฤษเคยเป็นเมืองมีหมอกพิษปกคลุมยาวนานถึง 5 วัน ในปี ค.ศ. 1952 ซึ่งหมอกควันที่ปกคลุมเพียง 5 วันนั้นสามารถคร่าชีวิตผู้คนไปได้นับหมื่นคน ซึ่งหมอกควันเหล่านั้น มันก็คือ PM 2.5 ในยุคนี้นี่แหละครับ เป็นผลผลิตจากการใช้ถ่านหิน ของโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงบ้านเรือนประชาชนทั่วไป บวกกับในยุคนั้นผู้คนยังไม่ได้รู้ถึงความอันตรายของฝุ่นควันเหล่านี้ จึงทำให้เกิดการสูญเสียตามมามากมาย ส่วนใหญ่สาเหตุการเสียชีวิตก็มาจากโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และ ปอด นั่นแหละครับ
หลังจากมีผู้เสียชีวิตมากมาย วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้น ได้ทำการสั่งยุติการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมชั่วคราว เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นนโยบายที่เด็ดขาด ทำให้หมอกควันค่อยๆ สลายตัวไป
ปัญหาหมอกปนควันครั้งใหญ่ของลอนดอนปี 1952 นี้เอง ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการปัญหาของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยทางรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับอากาศสะอาด อย่างเร่งด่วน และทำการออกกฎหมายจัดการมลพิษทางอากาศ ปี 1956 หรือ Clean Air Act 1956
5. ประเทศสหรัฐอเมริกา
มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาก็เคยเจอปัญหามลพิษทางอากาศเหมือนกันครับ โดยในช่วงปี 1990 ที่นครลอสเอนเจอลิส เคยต้องประสบปัญหา PM 2.5 สูงถึง 200 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยทางการได้ออกมาแก้ไขปัญหานี้ โดยการออกกฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศ
จัดการกับภัยคุกคามจากมลพิษอากาศ 4 ด้าน ได้แก่ ฝนกรด มลพิษอากาศในเมือง การปล่อยมลพิษอากาศสู่สิ่งแวดล้อม และการทำลายชั้นโอโซนของโลก มีการควบคุมการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดใหม่และแหล่งกำเนิดที่มีการปรับปรุงดัดแปลงในกิจการที่จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของประชาชน รวมถึงปรับระบบการอนุญาตการประกอบกิจการ และมีการบังคับตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด
สำหรับโทษทางปกครองนั้น ผู้อำนวยการของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา จะเป็นผู้มีอำนาจสั่งปรับเป็นจำนวนถึง 25,000 เหรียญสหรัฐต่อการฝ่าฝืนกฎหมาย 1 วัน แต่รวมแล้วจะไม่เกิน 200,000 เหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
ในบรรดา 5 ประเทศที่ยกมา จะเห็นได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลแต่ละประเทศเน้นจะเป็นในภาคของโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
สิ่งที่ผมชอบอย่างหนึ่งคือประเทศเกาหลีใต้ที่มีการร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นประเทศใกล้เคียงเพื่อลดการปล่อยมลพิษข้ามพรมแดน เพราะเอาจริงตอนนี้ประเทศเราเองก็จะเห็นหลายๆ ความคิดเห็น บ้างก็ว่ามาจากเพื่อนบ้านบ้างล่ะ บ้างก็ว่าบ้านเรานี่แหละ ผมว่าถ้าประเทศเรามีการปรับใช้ และประกาศใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงให้ความรู้แก่ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง ก็คงพอช่วยได้เนอะ ยังไงซะ เราทุกคนก็ไม่สมควรจะเจ็บป่วย หรือล้มตาย เพียงเพราะแค่หายใจกันใช่ไหมครับ
Credit ข้อมูลและรูปภาพ : chinapower , thaipbs.or.th/news , today.line , earth.org ,
Tag :
"MARU CHULA" สรุป สิ่งที่ควรรู้ของคอนโดใหม่จากค่าย Major
ว่ากัน 'ซอยหลังสวน' เปรียบเสมือน "แมนฮัตตันแห่งกรุงเทพฯ" คำกล่าวนี้ผมว่าไม่เกินจริงเลยนะ เพราะซอยหลังสวน ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่มีราคาที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทย และมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องทุกปี!!
นี่คือคอนโดที่ใกล้ "ลานชมเมืองภูเก็ต" บนเขารังมากที่สุด ทำให้คุณเห็นวิวเมืองภูเก็ตสวยๆตัดภูเขา ทะเล และท้องฟ้า ได้อย่างเต็มตา
นี่คือคอนโดใหม่จาก 'AP' ต้อนรับปีมะเส็งครับ จริงๆ จะบอกว่าเป็นโครงการเปิดปีก็ยังไงอยู่ จริงๆ ตัวนี้มาตั้งแต่ช่วงปลายๆ ปีแล้วครับ แม้จะมาแบบเงียบๆ แต่เห็นเปิดเว็บไซต์ให้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วนะ
ในที่สุดก็มาแล้ว กับ Wellness Project ระดับบิ๊กบนหัวมุมถนนหลังสวน-สารสิน จาก BDMS ที่ตอนนี้ได้ชื่อแล้วคือ "PROJECT HERCULES" แค่ฟังชื่อก็รู้แล้วว่า ยิ่งใหญ่!
นี่คือโครงการที่เหมาะสำหรับมือใหม่อยากซื้อคอนโด เลี้ยงสัตว์ได้ ใกล้รถไฟฟ้า ของกินเยอะ!!
มีข่าวมีคราวมานานแต่ไม่ได้มีโอกาสแวะไปดูเท่าไหร่ วันนี้ผ่านไปช่วง "เจริญกรุง" พอดี เลยเดินเลยไปดูสักนิด
นี่คือความโรแมนติกที่ดื่มด่ำ แถมอร่อยด้วย รู้ยัง คริสปี้ ครีม เค้าออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ต้อนรับวาเลนไทน์ ชวนคุณมาบอกรักด้วย Sweet Sips for Sweethearts Perfect Together
Next Station วาเลนไทน์ เผลอแป๊บเดียว จากปีใหม่ ไปตรุษจีน แปปๆ มาละจ้าา เทศกาลแห่งความรัก
PM 2.5 ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย และไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลกใบนี้ วันนี้ผมเลยอยากหยิบเอา 5 ประเทศที่เคยเจอปัญหา PM 2.5 เรามาอ่านดูครับ ว่าแต่ละประเทศใช้มาตรการไหนแก้ปัญหานี้กันนะ
นี่คือสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งอยู่ในย่านการเงินคิงอับดุลลาห์ (KAFD) และได้รับการออกแบบสถานีโดย Zaha Hadid Architects (ZHA)
เคยสังสัยกันมั้ยว่าเวลาคนรุ่นใหม่เค้าเลือกบริษัทแล้วเลือกจากอะไรกัน?