หลังจากผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
ผมเชื่อว่าเราหลายๆ คน เติบโตมาด้วยความรู้ที่ว่า ประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่น่าเป็นกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวชนิดรุนแรง อาจจะมีบางพื้นที่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก แต่ก็ไม่ได้มีพลังงานมากนัก ดังนั้นลึกๆ เราจึงมีความคิดที่ว่า ประเทศไทย ปลอดภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่แล้ว
แต่หลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าความคิดของพวกเราหลายๆ คนคงเปลี่ยนไป เพราะเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ 'แผ่นดินไหวครั้งใหญ่' ที่เราไม่เคยรู้สึกกันมาก่อนในชีวิตเลยด้วยซ้ำ
อะไรคือสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้? แล้วจะส่งผลกระทบต่อเราอีกหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ 'รอยเลื่อนสะกาย' ยักษ์หลับแห่งเมียนม่า ที่เขย่าพสุธาจนสะเทือนถึงประเทศไทยกันครับ
สาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้คืออะไร?
สาเหตุของแผ่นดินไหวเมื่อเวลา 13.20 น. ของวันที่ 28 มี.ค. 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่เมืองมัณฑะเลย์ เป็นแผ่นดินไหวบนบก 7.7 ขนาดความลึก 10 กม. และหลังจากนั้นอีก 12 นาที ก็ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 6.4 ตามมา ซึ่งนับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงสุดที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา นับตั้งแต่ พ.ศ. 2455
เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจาก 'รอยเลื่อนสะกาย' (Sagaing Fault) ซึ่งเป็นรอยเลื่อนตามแนวระดับ (Strike-Slip Fault) แบบตามแนวระดับด้านขวา ความยาว 1,200 กิโลเมตร โดยลากผ่ากลางประเทศเมียนมาจากเหนือสุดจรดใต้สุด ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังมากที่สุดในผืนแผ่นดินใหญ่ ของประเทศในอาเซียน จนได้ฉายาว่ายักษ์หลับแห่งเมียนมา
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ 'รอยเลื่อนสะกาย' ปลดปล่อยพลังงาน แต่ในอดีตช่วงต้นรัชกาลที่ 3 ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ หรือเมื่อ 186 ปีที่แล้ว รอยเลื่อนสะกายเคยปล่อยพลังงานทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งรับรู้ได้ถึงประเทศไทย โดยมีบันทึกว่าแผ่นดินไหวในครั้งนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอมรปุระ มีความรุนแรงขนาด 8.3 แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ถึงกรุงเทพมหานคร จนถึงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) บันทึกไว้ว่า “คนตื่นตกใจทั้งแผ่นดิน”
ภาพสะพานที่พังถล่มหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ใกล้จุดศูนย์กลางในเมืองสะกาย ประเทศเมียนมา
ภาพอาคารที่พังถล่มภายหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา
ทำไมกรุงเทพถึงรับรู้ถึงการสั่นสะเทือนในครั้งนี้ ทั้งที่อยู่ห่างไกลนับพันกิโล
จริงๆ แล้วแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนสะกาย ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก็เคยเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้หลายครั้ง หรือแม้กระทั่งแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2557
เอง ในกรุงเทพ ก็ยังไม่ได้รับผลกระทบและรับรู้ได้เท่าครั้งนี้ ที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว อยู่ห่างออกไปจากกรุงเทพมหานครนับพันกิโลฯ สาเหตุที่กรุงเทพฯ รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในครั้งนี้เป็นเพราะ กรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน จึงขยายแรงสั่นสะเทือนได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในอาคารสูง
จากบทสัมภาษณ์ของ BBC ของนักวิชาการด้านแผ่นดินไหวหลายๆ ท่านได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้รู้สึกได้ชัดเจนมากในประเทศไทยซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์กลางแผ่นดินไหวครั้งนี้ แต่ในบังกลาเทศรู้สึกได้น้อยกว่า อีกทั้งรอยเลื่อนสะกายวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่การสั่นสะเทือนจะมีความรุนแรงกว่าในทางทิศใต้ มากกว่าทางทิศตะวันตกของศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งนั่นอาจเป็นสิ่งที่เรียกว่าผลกระทบจากการแผ่คลื่น และในพื้นที่ดินที่อ่อนเช่นดินที่เป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร คลื่นแผ่นดินไหว จะชะลอความเร็วและสะสมพลังงานจนทำให้ขนาดของคลื่นเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธรณีวิทยาของกรุงเทพฯ จึงทำให้การสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวมีความรุนแรงมากขึ้นนั่นเอง
แล้วแผ่นดินไหวครั้งนี้ จะส่งผลต่อรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศไทยหรือไม่?
อ่านจนถึงตรงนี้ ผมว่าหลายคนก็คงมีคำถามแบบเดียวกับผม นั่นก็คือ แล้วพวกรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศไทยล่ะ? จะอันตรายไหม โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีรอยเลื่อนมากที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นภูมิภาคที่ใกล้ชิดกับเมียนมามากที่สุดอีกด้วย
โดยปัจจุบันประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังทั้งหมด 16 รอยเลื่อน ได้แก่
1. กลุ่มรอยเลื่อนแม่จัน
2. กลุ่มรอยเลื่อนแม่อิง
3. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน
4. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา
5. กลุ่มรอยเลื่อนเถิน
6. กลุ่มรอยเลื่อนปัว
7. กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์
8. กลุ่มรอยเลื่อนพะเยา
9. กลุ่มรอยเลื่อนแม่ลาว
10. กลุ่มรอยเลื่อนเมย
11. กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
12. กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
13. กลุ่มรอยเลื่อนระนอง
14. กลุ่มรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย
15. กลุ่มรอยเลื่อนเพชรบูรณ์
16. กลุ่มรอยเลื่อนเวียงแหง
โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย ทาง ศ.ปัญญา จารุศิริ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้บอกว่า แผ่นดินไหวมีโอกาสเกิดขึ้นอีกแน่นอน แต่บอกไม่ได้ว่าตอนไหน และเมื่อดูจากรอยเลื่อนสะกายที่อยู่ตรงกลาง จะเห็นว่า มีรอยแขนงหลายจุด ประมาณ 5 แขนง ซึ่งเคยเกิดมาแล้วครั้งหนึ่ง จะต้องเกิดอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้เกิดบนแขนงนั้น หรือ ตรงจุดนั้น
ขณะที่ จ.แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย มีรอยเลื่อนที่เล็ก และสั้นกว่า ขนานกับรอยเลื่อนสะกาย และที่ อ.ปางมะผ้า เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 1.7 เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 68 ซึ่งไม่ใช่อาฟเตอร์ช็อก แต่เป็น “แผ่นดินไหวแบบโดมิโน่"
การเกิดแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนสะกายรอบนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าจะไปกระทบกับรอยเลื่อนไหนบ้าง ได้แต่ “ภาวนาไม่ให้เกิด” ส่วนที่เกิด ที่ จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 1.7 นั้นถือว่าทำให้เกิดความสบายใจ เพราะให้รอยเลื่อนได้ปล่อยพลังงานที่ไม่รุนแรง
เอาเป็นว่า เราระวังได้ แต่อย่าตื่นตระหนก เพราะเอาจริงๆ แผ่นดินไหวนี่เกิดขึ้นแทบทุกวันนะ เพียงแต่ว่าเราแค่ไม่สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนของมันเท่านั้นเอง ช่วงนี้อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือการเสพข่าวอย่างมีสติครับ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ไม่เพียงแต่สร้างความตระหนกตกใจ หรือความเสียหายในแง่ทรัพย์สินเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อคนไทย ทั้งในเรื่องของวงการอสังหาฯ และองค์ความรู้ใหม่ๆ จากเรื่องที่เราคิดว่าไกลตัว ตอนนี้เราหลายๆ คน คงได้หันมาสนใจการรับมือของภัยธรรมชาติที่มีชื่อว่าแผ่นดินไหว กันมากขึ้นอีกด้วยครับ
ข้อมูลและภาพประกอบ : สำนักข่าวรอยเตอร์ BBC NEW กรมทรัพยาการทางธรณี
Tag :
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ