สวัสดีปีใหม่แฟนๆคอนโดติดดอย และติดดอยคอยดื่มทุกท่านครับ
คอลัมน์แรกหลังปีใหม่ ผมขออนุญาตนำเสนอบทความกึ่งๆวิชาการ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการดื่มเบียร์สักนิดนึง
หลายๆท่านอาจจะเคยสังเกตุคำว่า ABV ข้างๆขวด หรือกระป๋องเบียร์ หรือใน web rate beer ต่างๆของต่างประเทศ จะให้ความสำคัญกับคำนี้ไว้แทบจะต่อท้ายชื่อเบียร์กันเลยทีเดียว
วันนี้เรามาทำความรู้จัก ABV และ ABV ของเบียร์ที่มีขายในเซเว่นกันครับ
ABV ย่อมาจาก Alcohol by Volume แปลได้ว่า ว่าปริมาณแอลกอฮอล์เป็นเปอร์เซนต์ของปริมาตรเครื่องดื่มนั่นเองครับ
สำหรับเบียร์ในเมืองไทย คำนี้มักจะถูกใช้แทนด้วย ALC.X% VOL.
ซึ่งก็คงต้องการให้คนซื้อเข้าใจได้ง่ายขึ้น ว่าเบียร์กระป๋องนี้มีแอลกอฮอล์ (ALC.) กี่เปอร์เซนต์
แน่นอนครับว่าตัวเลขยิ่งสูงก็ หมายถึงความ ‘แรง’ ของเบียร์ ที่จะทำให้เราเมาได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น
จริงๆแล้ว แอลกอฮอล์ในเบียร์เกิดจากกระบวนการผลิตหรือหมักในธรรมชาติ
งั้นเค้าวัดปริมาณแอลกอฮอล์กันยังไงนะ???
ข้อมูลจาก website foodnetworksolution บอกว่า
การวัด ABV ทำได้ 2 วิธีครับ คือ
(1.) ใช้ Refractometer ซึ่งใช้หลักการวัดดัชนีหักเหของแสงผ่านตัวกลาง 2 ชนิด (น้ำและแอลกอฮอล์)
ฟังดูไอน์สไตน์มากๆแต่ใน web ก็บอกว่าเป็นเครื่องมือพื้นๆ ที่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเค้าใช้กันนะ
(2.) Hydrometer เป็นวิธีที่ผมเดาว่า Craft Beer ทั้งหลายน่าจะใช้กันนะ
ซึ่งใช้วัดความถ่วงจำเพาะ (ความหนาแน่น) ของของเหลว อาจจะฟังดูนักวิทยาศาสตร์โคตรๆ แต่ข้อมูลบอกว่าไอ้เจ้าเครื่องมือนี่ราคาไม่แพงเลย
หน้าตาเหมือน "กะเปาะแก้ว" เอาไปใส่ในเบียร์ให้มันลอย แล้วก็อ่านค่าความถ่วงจำเพาะ
เวลาวัด เราจะวัด 2 ครั้ง ก็คือ "ก่อน"และ "หลัง" หมัก
แล้วเอาตัวเลขทั้ง 2 ตัวใส่สูตรง่ายๆ ก็ได้ค่า ABV ออกมาเลย
แต่ถ้าขี้เกียจคำนวนก็เอาตัวเลขไปใส่ใน website http://www.brewersfriend.com/abv-calculator/ มันก็จะคำนวน ABV ออกมาให้เสร็จสรรพเลยครับ
ก่อนจะกลายเป็นคอลัมน์วิทยาศาสตร์รับวันเด็ก
ผมขอดึงทุกท่าน กลับมาที่เซเว่นหน้าปากซอยกันดีกว่า เรามาดูกันว่าเบียร์ที่ขายในเซเว่นนี่มันมีแอลกอฮอล์กี่เปอร์เซนต์กันนะ
ผมขออนุญาตเรียงลำดับให้ตามนี้ครับ
Chang Classic ABV 5.5%
Singha ABV 5%
Leo ABV 5%
Heineken ABV 5%
Asahi ABV 5%
Pistonhead ABV 4.6%
สรุปว่า
ผมขอยกตำแหน่ง "ชนะเลิศประจำเซเว่น" ให้กับ "เบียร์ช้างคลาสสิก" ไปเลยครับ
จริงๆจากข้อมูลที่ผมค้นเจอ นี่เป็น ABV หลังจากที่ค่ายช้างเค้า "ปรับสูตร" แล้วเมื่อปีที่ผ่านมาแล้วนะ
ถ้าเป็นก่อนหน้านั้น ABV ของค่ายนี้น่าจะประมาณนี้ครับ (ช้าง Classic 6.4%, Export 5%, Draft 5%, Light 4.2%)
มิน่า ทำไมเมื่อก่อนรู้สึกว่าดื่มช้างแล้วเมาเร็ว
มีตัวเลขอีกอันที่ยังไม่คอนเฟิร์ม เนื่องจากวันนั้นที่ไปเซเว่น ผมไม่ได้เห็นอีกขวดคือ Singha Light มี ABV 3.5%
ถ้าใช่นี่ก็ "เบาจริงชิลจริง"
คราวหน้าตอนที่เราเลือก เบียร์ไทย เบียร์นอก ก็ลองดูข้างขวดสักนิด ว่ามันแรงไป หรือว่าเบาไปไหม
สำหรับเบียร์ยุโรป หลายๆตัวที่มี ABV เกิน 10% นี่ก็ไม่ได้หายากนะครับ ตามร้านอาหารหรือ supermarket บ้านเรามีแน่นอน
สำหรับเบียร์ที่มี ABV สูงสุด เท่าที่ผมเคยมานำเสนอในคอลัมน์นี้ก็คือ KAGUA Rouge ABV.9%
ซึ่งเป็น "เบียร์ญี่ปุ่น" แต่ว่าข้ามน้ำข้ามทะเลไปทำในเบลเยียม
ความรู้สึกผมคือ 9% นี่ถือว่าแรงเอาเรื่องอยู่ ขวดเดียว 330ml. นี่มีตึงๆเหมือนกัน
แรงเกินกว่าจะมีไว้สำหรับดื่มขำๆนะ 555
สำหรับท่านใดที่ยังไม่เคยอ่านบทความของ KAGUA Rouge สามารถติดตามได้จาก Link นี้ Kagua Rouge abv. 9%
หวังว่าข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์กับแฟนๆบ้างนะครับ
ผมขอให้มีความสุขกับการดื่มเบียร์ และดื่มกันอย่างพอดีมีสติกันนะครับ
"ขอให้เป็นเราดื่มเบียร์ ไม่ใช่เบียร์ดื่มเรา"
แล้วผมกันใหม่ครับ
ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลสำหรับบทความในครั้งนี้ด้วยครับ
http://www.foodnetworksolution.com/
http://www.brew-corner.com/
http://www.beerguider.com/
http://www.brewersfriend.com/