
นับเป็นอีกหนึ่งสื่อกลางซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความไว้วางใจจากคนไทยเสมอมาเลยสำหรับ “DDproperty”
วันนี้เค้าก็เลยขอนำรวามเป็นพี่ใหญ่รวบรวมข้อมูลน่าสนใจของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มาเล่าให้พวกเราได้ฟังกัน
จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และอนาคตจะเป็นยังไง วันนี้ขอเล่ายาวหน่อย อย่าเพิ่งเบื่อกัน ถ้าพร้อมแล้ว...ไปดูกันเลยย!
- จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นให้ชัดก็คงต้องยกให้กับการมาของรถไฟฟ้า BTS ในปี 2542 และรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ในปี 2547 เลย จากเดิมที่คนกรุงส่วนใหญ่มักจะอยู่อาศัยกันเป็นแนวราบ เริ่มปรับเปลี่ยนเป็นแนวสูง หรือคอนโดมิเนียมมากขึ้น โดยเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้านั่นแหละ
- โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ใจกลางเมืองตามแนวรถไฟฟ้ากลางเป็นแนวสูงที่เจาะตลาดคนรุ่นใหม่ ผู้ที่ทำงานใจกลางเมือง ส่วนพื้นที่ชานเมืองจะล้อมรอบด้วยบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์
- สิ่งที่ตามมาก็คือราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยสูงขึ้น ซึ่งเฉลี่ยนแล้วเพิ่มขึ้นถึงปีละ 8% เลยนะ ผลักดันให้คนที่รายได้ไม่มากนักจึงต้องออกไปอยู่ชานเมืองกันมากขึ้น
- ส่วนที่อยู่อาศัยแนวสูงใจกลางเมืองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของยูนิตพักอาศัยให้มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้จำนวนยูนิตมากขึ้น โดยตามกฎหมายแล้วกำหนัดให้มีขนาดไม่ต่ำกว่า 21 ตร.ม. ต่อห้องนั่นเอง
- ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบที่อยู่อาศัยและราคานี้ทำให้ทางรัฐบาลออกโครงการต่าง ๆ มากมายมาช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เกิดความสมดุล และทั่วถึงมากขึ้น เช่น โครงการบ้านหลังแรก นั่นเอง
- แล้วอนาคตต่อจากนี้จะเป็นยังไงล่ะ... ก็ต้องยอมรับกันเลยว่าราคาที่อยู่อาศัย และราคาที่ดินก็จะยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไป แม้จากการสำรวจแล้วคนไทยจะมีแนวโน้มซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้นก็ตาม
- สังเกตได้จากการประเมินราคาที่ดินรอบใหม่ที่ออกมานี้มีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 10% ปัจจุบันราคาประเมินรอบใหม่สูงสุดอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. (สีลม, เพลินจิต, พระราม 1, วิทยุ) โดยในอนาคตจะได้เห็นราคาสูงถึง 3ล้านบาทต่อ ตร.ว. อย่าแน่นอน
- รูปแบบที่อยู่อาศัยใจกลางเมืองก็ยังต้องยกให้กับคอนโด เพราะมีการเติบโตของตลาดและคุ่มค่าในการพัฒนามากกว่าโครงการรูปแบบอื่น ๆ เนื่องจากราคาที่ดินที่สูงขึ้นนั่นเอง
- สำหรับแนวเส้นรถไฟฟ้าก็ยังจะเป็นโครงข่ายที่สำคัญในการขยายความเจริญของชุมชนเมืองออกไป โดยตามแผนแล้วปี 2570 เป็นปีสุดท้ายของแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ซึ่งจะมีรถไฟฟ้ารวมทั้งหมด 11 สาย จำนวน 297 สถานีทระยะทางรวม 466.1 กิโลเมตร
- ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นแล้วคาดว่าจะเห็นโครงการรูปแบบมิกซ์ยูส และคอนโดแบบลีสโฮลด์มากขึ้นด้วย เพื่อลดความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนระยะยาวให้กับผู้ประกอบการนั่นเอง
จากแนวโน้มทั้งหมดที่ว่ามา ไม่ว่าจะราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ และอีกมากมาย
ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการออกแบบมาตรการที่จะช่วยให้ผู้ที่ยังไม่ได้มีบ้านเป็นของตัวเอง สามารถเข้าถึงการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้
ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงนี้ก็เริ่มมีมาตรการต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนมาส่งเสริมบ้างแล้ว ส่วนในอนาคตต่อจากนี้จะมีมาตรการอะไรมาเพิ่มเติมก็ติดตามติดดอยไว้ได้เลย เดี๋ยวจะรีบมาอัพเดตกันอย่างแน่นอนนน :)