ช่วงโควิด-19 นี้แทบทุกคนได้รับผลกระทบจากเจ้าวิกฤตตัวร้ายนี้ไปกันถ้วนหน้าครับ เรียกได้ว่าพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกแบบแบ่งๆ กันไปตามยถากรรม 5555
ไม่ว่าจะด้านธุรกิจ ด้านการงาน หรือด้านความเป็นอยู่ ก็คือกระทบหมด กระทบจนเซเป๋ไปเลยทีเดียว
แต่แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่กระทบมากๆ อย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือในเรื่องของ "สภาพทางการเงิน"
ธุรกิจเดินได้ยาก รายได้ก็ชะงักลง เงินที่ควรได้ก็ลดจำนวนลงไปอีก เรื่องพวกนี้คงไม่ต้องเกริ่นให้ฟังกันมากความ เพราะผมคิดว่าหลายๆ คนน่าจะรู้ซึ้งกันดีถึงผลกระทบของมันกันมากอยู่แล้ว มองเงินในกระเป๋าแล้วก็เศร้าใจ ใครๆ ก็เป็นหนี้ เฮ้อออ
และแน่นอนว่าทาง ธปท. เค้าก็พยายามช่วยเหลือเราๆ ท่านๆ กันด้วยการออกแนวปฏิบัติสำคัญเรื่องการชำระหนี้เพื่อลดหนี้เสียและลดภาระหนี้ของประชาชนครับ เมื่อมีมาตรการนี้ออกมาก็น่าจะช่วยให้คนที่ได้รับผลกระทบสามารถเอาตัวรอดในช่วงวิกฤตนี้ไปได้หน่อย
สำหรับหลักเกณฑ์ในเรื่องของการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้นั้นก็มาเพื่อช่วยลดภาระหนี้ของประชาชนเลยแหละ และเกณฑ์นี้ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทย 3 เรื่องครับ ซึ่งจะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น เดี๋ยววันนี้เรามาพูดคุยกันในส่วนนี้ดีกว่า
หลักเกณฑ์สำคัญ 3 ข้อ
1. การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ "เงินต้นที่ผิดนัดจริง" เท่านั้น
มาพูดถึงส่วนแรกกันก่อนนั่นคือ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ "เงินต้นที่ผิดนัดจริง" เท่านั้น ตรงส่วนนี้คืออะไร? มันก็คือการที่หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้บริการจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เฉพาะในส่วนของเงินต้นงวดที่ผิดนัดจริงเท่านั้นครับ
อันนี้คือเพื่อไม่ให้รวมไปกับส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งจะต่างจากแนวปฏิบัติเดิมตรงที่ว่า ถ้าหากผิดนัดชำระหนี้แค่งวดเดียว ผู้ให้บริการทางการเงินก็สามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมดได้เลย มันเลยจะทำให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก เจ้าเกณฑ์ใหม่ข้อนี้เลยทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้นั้นสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเป็นธรรมกับประชาชนตาดำๆ อย่างเรามากขึ้นนั่นเองครับ
2. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ "อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%"
สำหรับในข้อที่สองนี้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ เลยคือ ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ผู้ที่ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% ครับ (แต่ว่าตรงนี้เองก็ต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วยนะ) ซึ่งมันจะแตกต่างไปจากวิธีการเดิมตรงที่ผู้ให้บริการทางการเงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง
ซึ่งในส่วนของการปรับเกณฑ์ครั้งนี้ก็จะช่วยกระตุ้นให้ลูกหนี้พยายามจ่ายชำระหนี้ครับ แล้วก็จะเป็นการลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ไปเอง แถมยังช่วยให้ระบบการเงินนั้นมีความสมดุลมากขึ้น กลับกัน ในส่วนของการฟ้องร้องดำเนินคดีเองก็จะลดลง
3. การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ "ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก"
ข้อสุดท้ายนี้มาเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับรู้ลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจนครับ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่าย "ค่าธรรมเนียม-ดอกเบี้ย-เงินต้น" ของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน จะต่างไปจากแนวทางเดิมตรงที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัด "ค่าธรรมเนียมทั้งหมด" ตามด้วย "ดอกเบี้ย" ทั้งหมด แล้วจึงค่อยนำเงินส่วนที่เหลือนั้นมาตัด "เงินต้น" ทีหลังนั่นเอง
การปรับเกณฑ์ใหม่ข้อนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนนั้นสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น แล้วก็ช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ ที่สำคัญคือช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้แบบต่อเนื่องต่อไปครับ อ้อ! นอกจากนี้ยังช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้นั้นสอดคล้องไปกับข้อเท็จจริงมากขึ้นอีกด้วยนะ
เริ่มเมื่อไหร่? ผิดนัดจะเป็นยังไง?
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ธปท. เค้าส่งหนังสือเวียนไปถึงผู้ให้บริการทางการเงินทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องประกาศการกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แล้วล่ะครับ แต่ว่าตัวกำหนดเกณฑ์นี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 หรือก็คือปีหน้าโน่น
แต่ว่าในส่วนของลำดับการตัดชำระหนี้นั้นจะแตกต่างออกไปคือจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ครับ เพราะว่าทางผู้ให้บริการทางการเงินยังต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564 นั้น ทางผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำหลักการตามประกาศฉบับใหม่มาใช้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามสมควรได้ครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ก็มีลูกหนี้จำนวนมากที่กำลังเดือดร้อนเพราะวิกฤตโควิด-19 อ่ะเนอะ ในกรณีแบบนี้เองก็คงจะมีเหมือนกันแหละ
ตัวมาตรการการชำระหนี้ที่ออกมาใหม่นี้น่าจะช่วยลดโอกาสการเกิดหนี้เสียของระบบการเงินโดยรวมได้ไม่มากก็น้อยครับ และก็น่าจะช่วยให้ลูกหนี้ที่ไม่ตั้งใจจะผิดนัดชำระหนี้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ด้วย แต่ยังไงก็แล้วแต่สิ่งสำคัญคือมันช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินนี่แหละ
แต่ผมว่าสิ่งที่น่ากลัวหลังจากนี้คือผลกระทบบางอย่างอาจจะมีค่อยๆ ทยอยโผล่มาบ้างนะ เพราะหลายๆ ธุรกิจเองในตอนนี้ก็มีที่ขาดทุนอยู่ไม่น้อยเลย ยิ่งถ้าวิกฤตนี้ยังกินเวลายืดเยื้อต่อไปน่าจะมีผลกระทบที่หนักต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของเราไม่น้อยเหมือนกัน
เอาเป็นว่ายังไงปีหน้าเราได้รู้กันแน่นอนครับ ตอนนี้ใครคว้าจับอะไรไว้ได้ก็รีบคว้าไว้ก่อนเถอะ
Tag :
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป
ยกให้เป็นร้านผลไม้เคลือบน้ำตาลที่ผมชอบที่สุด อร่อยที่สุด และหากินยากที่สุดด้วย!!!
เปิด “สโคป ทองหล่อ” อัลตร้าลักซ์ชูรี All-Penthouse แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์บนทำเลทองย่านสุขุมวิท-ทองหล่อ
การที่ "Reference Ekkamai" (เรฟเฟอเรนซ์ เอกมัย) ของ "SC Asset" มาปักธงอยู่ตรงนี้ บริเวณปากซ.เอกมัย 1 จึงจัดเป็น 1 ในโครงการที่น่าสนใจที่สุดอย่างแน่นอน นี่คือทำเลแบบ One-Stop Location for Living ก็ว่าได้