มีใครกำลังรอมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ครั้งใหม่กันอยู่บ้างมั้ยครับ เห็นว่าตอนนี้เค้ากำลังเตรียมปล่อยมาตรการใหม่ "พักทรัพย์ พักหนี้" ออกมาช่วยเหลือแล้วนะ
ที่ต้องปล่อยออกมาใหม่ ไม่ใช่ว่ามาตรการเก่าไม่ดีและไม่เกิดประโยชน์นะ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นการ 'เกาไม่ถูกที่คัน' ซะมากกว่า
เพราะถ้าเราลองมองย้อนกลับไปดูมาตรการครั้งที่แล้วจะเห็นว่าเน้นไปที่การพักหนี้แบบรวม ๆ ไม่ได้แยกแยะว่าใครได้รับผลกระทบมากน้อยและต่างกัน
แต่สำหรับวิกฤตรอบนี้ เราเรียนรู้กันแล้วว่ามันเกิดผลกระทบระยะยาวและมีความไม่เท่าเทียมในการฟื้นตัว ดังนั้นต้องแยกที่เกา ต้องปรับนโยบายให้ถูกจุด 555
ทีนี้เรามาดูกันว่ามาตรการใหม่ "พักทรัพย์ พักหนี้" ที่จะออกมาช่วยผู้ประกอบการรายย่อยครั้งนี้ มีกระบวนการยังไง แล้วจะถูกที่คันแค่ไหนกันครับ
ผมขออธิบายง่าย ๆ ละกันนะครับ มาตรการนี้คือ การที่ลูกหนี้ธุรกิจรายย่อย รายเล็ก สามารถลดภาระทางการเงินได้ชั่วคราว ด้วยการโอนทรัพย์ไว้กับธนาคารโดยมีสัญญาซื้อคืน
เช่น นาย ก. เดิมมีหนี้ 40 ล้านบาท และมีทรัพย์สินที่ตีมูลค่าหลักประกันได้ 50 ล้านบาท นาย ก. ก็สามารถเอาทรัพย์ไปโอนทรัพย์ไว้กับธนาคารที่ 40 ล้านบาทได้
แต่ แต่ แต่... ข้อดีที่มาตรการนี้ช่วย นาย ก. ก็คือทรัพย์สินที่โปะหนี้เก่าไปนั้น นาย ก. มีสิทธิ์ที่จะกลับมาซื้อคืนในราคาที่ตีโอนไปด้วย
ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ภาระหนี้ของ นาย ก. จะหายไป เป็นการให้โอกาส นาย ก. ได้มีเงินมาหมุนเวียนภายในระยะเวลา 3-5 ปี รอการฟื้นตัวของธุรกิจแบบไม่สูญเสียกิจการไป
ซึ่งระหว่างนั้น นาย ก. ยังสามารถเช่าทรัพย์สินนั้นเพื่อดำเนินกิจการต่อได้ในราคาที่ไม่แพง หรือสามารถดูแลทรัพย์สินตามใจต้องการได้ด้วยนะ
โดยค่าเช่าที่จ่ายไปก็ไม่ใช่จ่ายฟรีเหมือนเสียค่าเช่าที่ตัวเองเปล่า ๆ ให้ธนาคารนะครับ แต่สามารถนำไปหักกับราคาซื้อทรัพย์สินนั้นคืนได้อีกเช่นกัน
สรุปย่อ ๆ คือ การนำหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันอยู่กับสถาบันการเงินมาฝากไว้แทน ซึ่งจะเหมือนกับการแช่แข็งหนี้ไว้ก่อน ไม่ให้ตกชั้นกลายเป็นหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล และยังสามารถซื้อกลับคืนเพื่อดำเนินกิจการต่อได้หากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว นี่คือจุดเด่นของ 'พักทรัพย์ พักหนี้' ครับ
ส่วนตัวแล้วผมว่าเป็นมาตรการที่ 'เกาถูกที่คัน' อยู่นะ เพราะจะทำให้เกิดการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้ (สถาบันการเงิน) และ ลูกหนี้ เพื่อออกสัญญามาตรฐานให้การตกลงง่ายขึ้น
ขณะที่ในแง่กลไกบางอย่าง ก็จะรักษาผลประโยชน์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ กว่าการให้นายทุนหรือเอกชนมาซื้อและครอบครองทรัพย์สินของเราไปครับ
แล้วใครที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของมาตรการนี้ล่ะ?
อย่างที่บอกไปตอนต้นเลยครับว่ามาตรการนี้เค้า 'หาที่คัน' มาแล้ว โดยมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง และต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัว
ซึ่งต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ในการเจรจากับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเพื่อหยุดหรือลดภาระหนี้ครับ
เอ่อ... ลืมบอกไปครับว่าระหว่าง 3-5 ปีที่เรา 'พักทรัพย์ พักหนี้' ทรัพย์สินของเราจะยังปลอดภัยไม่ถูกขายต่อหรือเข้าสู่กระบวนการอื่น ๆ นะ
เพราะเค้ามีข้อกำหนดให้เรามั่นใจด้วยว่า ผู้ประกอบธุรกิจนั้นมีสิทธิซื้อทรัพย์คืนเป็น 'ลำดับแรก' ในราคาต้นทุน
โดยจะเท่ากับราคาตีโอนบวกด้วยต้นทุนการถือครองทรัพย์ (carrying cost) ร้อยละ 1 ต่อปีของราคาตีโอน และต้นทุนในการดูแลรักษาทรัพย์ตามที่จ่ายจริงและสมควรแก่เหตุ
ฟังแบบนี้แล้วน่าจะช่วยต่อลมหายใจให้บรรดาผู้ประกอบการรายย่อยได้เยอะเลยนะ เพราะช่วยรักษาโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ถูกกดราคาบังคับขายทรัพย์ (fire sale) ไปแบบ 'ไม่มีความหวัง'
ผมขอยกตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายอย่าง 'กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว' ที่ตอนนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ทำให้การจ้างงาน และการเกิดรายได้กระทบกันไปหลายต่อ
ถ้ามีมาตรการนี้เข้ามาช่วยก็จะเป็นการเลี้ยงให้ธุรกิจท่องเที่ยวต่าง ๆ ยังดำเนินต่อไปได้ โดยเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย กิจการก็จะพร้อมสร้างงานและทำรายได้อีกครั้งแบบไม่สะดุด
ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่ามาตรการครั้งนี้จะสามารถพยุงการจ้างงานได้หลายแสนคน และช่วยบริษัทให้มีสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจได้อีกหลาย 10,000 บริษัท รวมถึงช่วยลดความเสี่ยง GDP at risk ได้ด้วยครับ
แล้วข้อเสีย ข้อควรระวังของโครงการนี้ล่ะ?
ถ้าดูเนื้อหาของมาตรการจริง ๆ แล้วจะพบว่ามันคือการตีโอนทรัพย์ค้ำประกันให้เจ้าหนี้หรือธนาคารเพื่อตัดหนี้คงค้าง ตรงนี้ไม่มีอะไรใหม่ เป็นกระบวนการปกติของธนาคารอยู่แล้วครับ
ที่เพิ่มมาคือ เงื่อนไขซื้อคืนโดยลูกหนี้มีสิทธิ์คนแรก และสามารถเช่ากลับมาดำเนินกิจการได้ เห็นความแตกต่างอยู่ 2 ประเด็นนี้เท่านั้น
ทีนี้ก็อยู่ที่ธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้นั่นแหละครับ ว่าจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาลูกหนี้มาเข้าร่วมโครงการยังไงกันบ้าง ต้องเลือกให้ทั่วถึงและไม่มองแค่สินทรัพย์คุณภาพดีเท่านั้น
เพราะถ้ามองลงไปลึก ๆ ลูกหนี้ที่มีสินทรัพย์ดี ๆ อาจจะไม่ได้ต้องการเข้าโครงการ เพราะมีสายป่านยาวกว่า ทุนใหญ่กว่า และมีช่องทางระดมทุนแบบอื่นนอกจากสินเชื่ออยู่แล้ว
ปัญหาจึงจะตกไปที่กลุ่มกิจการหรือธุรกิจที่มีศักยภาพดี แต่ไม่มีสินทรัพย์น่าสนใจเท่าที่ควรจะได้รับพิจารณาเข้าร่วมโครงการมากแค่ไหนครับ
เอาเป็นว่าใครที่ดำเนินธุรกิจ กิจการ หรืออุตสาหรรมที่เข้าค่ายของกลุ่มเป้าหมายมาตรการนี้ ก็เตรียมเกาะติดศึกษาข้อมูลกันไว้ให้ดี หรือจะลองไปปรึกษากับสถาบันการเงินไว้ก่อนก็ได้ ผมเชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสดี ๆ ที่จะช่วยต่อลมหายใจให้เพื่อน ๆ พร้อมสู้อีกครั้งไม่มากก็น้อยแน่นอนครับ!!!
Tag : พักทรัพย์ พักหนี้ | มาตรการรัฐ | COVID 19
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป
ยกให้เป็นร้านผลไม้เคลือบน้ำตาลที่ผมชอบที่สุด อร่อยที่สุด และหากินยากที่สุดด้วย!!!
เปิด “สโคป ทองหล่อ” อัลตร้าลักซ์ชูรี All-Penthouse แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์บนทำเลทองย่านสุขุมวิท-ทองหล่อ
การที่ "Reference Ekkamai" (เรฟเฟอเรนซ์ เอกมัย) ของ "SC Asset" มาปักธงอยู่ตรงนี้ บริเวณปากซ.เอกมัย 1 จึงจัดเป็น 1 ในโครงการที่น่าสนใจที่สุดอย่างแน่นอน นี่คือทำเลแบบ One-Stop Location for Living ก็ว่าได้