ยังคงเป็นที่สงสัยของผมตลอดหลายปีที่ผ่านมาครับ กรุงเทพฯ ของเรามีสารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี
แต่พื้นที่สีเขียวในเมืองหลวงของเราก็ยังคงน้อย และไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเรามีคุณภาพชีวิตดี ๆ จากเมืองสีเขียวที่ใฝ่ฝันได้ซะที
เพื่อน ๆ เชื่อมั้ยครับว่าปี 2563 ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ของเรามีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตร.ม./คน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ 9 ตร.ม./คน!!!
จุดนี้แหละ... เป็นปัญหาที่เราต้องย้อนกลับมาคิดกันครับว่าสารพัดโครงการที่ผ่านมานั้น ทำไมมันยังคงไม่ได้ผลเท่าควรกันนะ?
"mor and farmer" ทีมสถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่อยากเห็นกรุงเทพเป็นเมืองสีเขียวเช่นกัน
โดยเค้าได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม
ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด 1,661 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 13.7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือพื้นที่ต้นไม้ที่เห็นน้อย ๆ เนี่ย เค้ารวมทั้งต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนบุคคลแล้วด้วยนะ น้อยไป!!!!!
ยังไม่หมดแค่นั้นครับ... เพราะเค้ายังจัด 10 อันดับเขตใน กทม. ที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุด ไว้ให้เราช้ำใจกันเล่น ๆ ด้วย
ไม่แน่นะ! ทำเลที่เพื่อน ๆ อยู่ แม้อาจจะดูร่มรื่นมีต้นไม้มากมาย แต่ถ้าเฉลี่ยทั้งเขตแล้วอาจจะมีพื้นที่ต้นไม้น้อยกว่าที่คิดก็ได้ ฮ่า ๆๆๆๆๆ
จากข้อมูลนี้เองทำให้ผมนึกไปถึงแนวคิด ‘การ์เด้นซิตี้’ (Garden City) หรืออุทยานนครในช่วงหลังการปฏิวัติในยุคอุตสาหกรรมขึ้นมาเลยครับ
เพราะเป็นแนวคิดการออกแบบเมืองที่เน้นประโยชน์ต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และการทำอุตสาหกรรม ให้ทุกอย่างสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและเหมาะสม
โดยหลังจากนั้นเป็นต้นมา 'สวนสาธารณะ' ก็ได้กลายเป็นมาตรฐานในการวางแผนพัฒนาเมือง ซึ่งในการวางผังเมืองของแต่ละประเทศก็จะกำหนดมาตรฐานที่แตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ ความหนาแน่นของผู้คน และลักษณะประชากรของพื้นที่นั้น ๆ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็เช่น ค่ามาตรฐานของพื้นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจโดยรวมต่อจำนวนประชากรในสหรัฐฯ
เค้ากำหนดเอาไว้ประมาณ 25 ไร่ต่อประชากร 1,000 คน สนามเล่นกีฬาและสนามเด็กเล่นตามชุมชน ถูกกำหนดอยู่ที่ 2.5 ไร่ต่อประชากร 800 คน ซึ่งในแต่ละรัฐก็จะมีตัวเลขไม่เท่ากัน
กลับมาที่ดินแดน 'ไทยแลนด์' ของเรา จากข้อมูลเห็นว่าเคยกำหนดพื้นที่พักผ่อนโดยรวมไว้ที่ 10 ไร่ต่อประชากร 1000 คน
แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นไปตามฝันครับ เพราะจากผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับปรับปรุงใหม่มีศักยภาพสามารถทำได้เพียง 1.8 ไร่ต่อประชากร 1000 คนเท่านั้น
จุดนี้แหละทำให้ในอนาคต กทม. ก็มีแผนสร้างสวนสาธารณะในเมืองเพิ่มถึง 11 แห่ง รวมถึงอุทยานและพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีป่าชายเลน
หวังเพิ่มเส้นทางสีเขียวระยะทาง 15 กิโลเมตร เพื่อให้ทุกคนมีพื้นที่สร้างสุขภาพกายและสุขภาพใจอย่างเพียงพอ เป็นเมืองสีเขียวอย่างที่ใฝ่ฝันกันไว้
ซึ่งนอกจากภาครัฐ ภาคเอกชนแล้ว ตัวพวกเราเองทุกคนก็สามารถช่วยกันได้นะ มาช่วยกันเปลี่ยนพื้นที่ว่างใกล้ตัวให้เป็นพื้นที่สีเขียว เพื่ออนาคตที่สดใสของดินแดนไทยแลนด์ครับผม :)
Tag : พื้นที่สีเขียว | สวนสาธารณะ | กรุงเทพมหานคร
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
วันก่อนเข้าออฟฟิศไปแถวๆ โชคชัย 4 นึกขึ้นได้ว่า เออ มันมีคอนโดโครงการหนึ่งของ SC Asset แถวๆ นี้นี่นา เรายังไม่เคยไปดูทำเลเลยแหะ!! COBE Ladprao - Sutthisan (โค้บบ์ ลาดพร้าว-สุทธิสาร) งานนี้เลยถือโอกาสลองเดินจ้ำอ้าว ไปส่องดูทำเลหน่อยซิ ว่าจะดีซักแค่ไหนกันเชียว
ที่ดินศูนย์กลางเมืองไม่เคยมีวันไหนที่ไม่ร้อนฉ่า
ส่องโครงการรัฐกันบ้างครับ หลังจากที่เค้ามีการเปิดจองสิทธิ์โครงการ 'บ้านเพื่อคนไทย' ไปตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ปิดลงทะเบียนไปเรียบร้อยแล้ว
เมื่อความหวานในใจต่ำเกินไป ชวนทุกคนมาเติมความหวาน กับเครื่องดื่มใหม่จากคริสปี้ครีม Krispy Kreme Sweet Pink Milk
มันจะมีอยู่รสชาติหนึ่งครับ ที่ไม่ว่าจะได้ลิ้มรสเมื่อไหร่ ก็จะนึกถึงวันวานตอนเป็นเด็กตลอด นั่นก็คือ 'โอวัลติน'!! กินทีไรเป็นต้องฟินเสมอ
พาชิมพิซซ่าโฮมเมดร้านดังประจำตลาดนัดจตุจักรที่แมสและสบายกระเป๋าที่สุดในตอนนี้!
วันนี้มีโอกาสได้เข้าไปร่วมฟังเสวนาในหัวข้อ 'อยู่สูงอย่างมั่นใจอาคาร SC ปลอดภัย 100%'
"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร