เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับสำหรับการแข่งขัน “โอลิมปิกเกมส์” ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ถูกเลื่อนมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19
เอาจริงจนถึงตอนนี้ตัวผมเองยังแอบลุ้นอยู่เลยนะ ว่าเค้าจะสามารถจัดได้อย่างที่ตั้งใจ และแข่งขันกันจนจบอย่างตลอดรอดฝั่งมั้ย 555555
เพราะนอกจากการวุ่นวายเรื่องควบคุมโรคระบาดในการแข่งขันแล้ว ปัญหาที่ดูจะหนักกว่าก็คือประชาชนบางกลุ่มที่ไม่อยากให้มีการจัดขึ้นเลยเนี่ยสิ
เอาจริงก็เข้าใจพวกเค้านะครับ เพราะสถานการณ์ของโควิดภายในกรุงโตเกียวตอนนี้ก็ยังไม่คลี่คลายดี คนกลุ่มนี้เลยอยากให้ควบคุมให้ได้มากกว่านี้ก่อน หรือยกเลิกไปเลย
แต่มันไม่ใช่แค่นั้นสิครับ สำหรับการจัดแข่งขันงานกีฬาแต่ละครั้งนั้น ยิ่งเป็นขนาดใหญ่อย่างโอลิมปิกแล้วด้วย ประเทศเจ้าภาพจะต้องมีการลงทุนอย่างมหาศาล
โดยค่าใช้จ่ายที่ว่า ก็เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินเมืองก่อนที่จะยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และเมื่อได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานแล้ว เมืองหรือประเทศนั้นๆ ก็จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงโครงการต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาที่จะเดินทางมาได้
ตั้งแต่ระบบถนน รถไฟ สนามบิน ไปจนถึง การสร้างสนามกีฬาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของโอลิมปิก และโรงแรมที่มีเพียงพอตามที่คณะกรรมการโอลิมปิกกำหนดไว้
ซึ่งเมื่อเกิดการลงทุนก็ย่อมเกิดการแสวงผลกำไรเป็นธรรมดา แม้จากข้อมูลการจัดงานหลายครั้งที่ผ่านมา ผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นกลับช่างน้อยนิดก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น ในงานโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งก่อให้เกิดรายได้เพียงแค่ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทีนี้หลายคงคงจะเริ่มสงสัยแล้วใช่มั้ยครับ ลงทุนก็เยอะ ผลตอบแทนที่ได้ก็ดูเหมือนจะไม่คุ้ม แล้วทำไมเค้ายังอยากเป็นเจ้าภาพ และเดินหน้าจัดการแข่งขันกันต่อไปล่ะ?
อย่างแรกก็คงเรื่องผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดงาน ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจก่อสร้าง หรือธุรกิจในกลุ่มภาคบริการ การท่องเที่ยวเป็นต้น
อย่างที่สองก็คือการแสดงแสนยานุภาพของประเทศหรือสัญลักษณ์บางอย่างออกมา เพราะนอกจากจะได้พัฒนาเมืองไว้รองรับการแข่งขันแล้ว ท้ายที่สุดประชาชนก็จะได้เมืองที่ดีขึ้นด้วย
อย่างสุดท้ายก็คือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่จะตามมา ซึ่งแม้อาจจะไม่ได้เห็นตัวเลขอย่างชัดเจนภายในปีที่มีการแข่งขัน แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีนัยยะสำคัญต่อกันครับ
ยกตัวอย่างในภาคอสังหาริทรัพย์ของพวกเราละกัน บรรดานักลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในกรุงโตเกียวบางกลุ่มเค้าก็ยกมือสนับสนุนให้โอลิมปิกเดินหน้าจัดต่อไปนะ
เพราะการแข่งขันดังกล่าวเปรียบเสมือนการเปิดหน้าต่างที่แสดงให้เห็นภาพบ้านและที่ดินทั่วกรุงโตเกียว ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจเข้ามาลงทุน
และทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นขยายตัวเติบโตได้ดี และช่วยให้การฟื้นตัวของญี่ปุ่นหลังยุคโควิด-19 ระบาด เป็นไปในทิศทางบวก เหมือนเป็นการเปิดบ้านล่อแขกในอนาคตนั่นแหละ
เพราะแม้ว่าผู้ชมต่างชาติจะไม่ได้เดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันในญี่ปุ่น แต่การที่มีโอกาสถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมทั่วโลกจะเป็นโอกาสให้ภาพบ้านเรือนของกรุงโตเกียวได้รับการมองเห็น และเกิดความต้องการเข้ามาลงทุน
โดยเค้ายังมีข้อมูลมาสนับสนุนอีกด้วยว่า สถิติในประวัติศาสตร์หลายปีที่ผ่านมา พบว่า ประเทศที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกจะมีดัชนี REIT ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 2 ปี เริ่มต้นจากปีที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
ดังนั้นญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มและความเป็นไปได้ที่ดัชนี REIT จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเป็นผลพวงจาก Show Window Effect หรือผลจากหน้าต่างโชว์สินค้า ที่นักลงทุนทั่วโลกจะได้เห็นเมืองที่มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อย่างสวยงาม
ก็ได้แต่หวังว่าการแข่งขันโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นในครั้งนี้จะสนุกและผ่านพ้นไปด้วยดีเนอะ เพราะถ้าจะเลื่อนต่อก็จะมีต้นทุนของการเลื่อนจัดงานก็สูงตามมาอีก
ส่วนตัวแล้วผมว่าถ้าญี่ปุ่นสามารถจัดงานออกมาได้ตามที่วางแผนไว้ ก็อาจจะเกิดผลที่ดีกว่าที่คิดนะ เพราะสามารถสร้างภาพจำที่ดีในการเป็นเจ้าภาพแบบมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
รวมทั้งสร้างความหวังให้กับทุกคนว่าวิกฤติครั้งนี้กำลังใกล้จะจบลง และเราจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้อย่างเช่นเคย
ยังไงซะพวกเราที่อยู่ทางนี้ก็ช่วยกันเป็นกำลังใจให้เจ้าภาพและประชาชนชาวญี่ปุ่นกันนะครับ รวมถึงทัพนักกีฬาที่ออกไปเสี่ยงเพื่อสร้างความบันเทิงให้พวกเราทั่วโลกด้วย ไวต์โฮล พรุ่งนี้ที่สดใสรอเราอยู่~~~
Tag : Olympic Tokyo 2020 | อสังหาริมทรัพย์ | เศรษฐกิจ
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป
ยกให้เป็นร้านผลไม้เคลือบน้ำตาลที่ผมชอบที่สุด อร่อยที่สุด และหากินยากที่สุดด้วย!!!
เปิด “สโคป ทองหล่อ” อัลตร้าลักซ์ชูรี All-Penthouse แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์บนทำเลทองย่านสุขุมวิท-ทองหล่อ
การที่ "Reference Ekkamai" (เรฟเฟอเรนซ์ เอกมัย) ของ "SC Asset" มาปักธงอยู่ตรงนี้ บริเวณปากซ.เอกมัย 1 จึงจัดเป็น 1 ในโครงการที่น่าสนใจที่สุดอย่างแน่นอน นี่คือทำเลแบบ One-Stop Location for Living ก็ว่าได้