กว่าจะเป็น “แลนด์ลอร์ด” กลางใจเมือง "จุฬาฯ" ได้ที่ดินมาจากไหน

กว่าจะเป็น “แลนด์ลอร์ด” กลางใจเมือง "จุฬาฯ" ได้ที่ดินมาจากไหน

Home   /   ติดดอยล้อมวงเล่า

โซน : 02 Oct 2021   17:02

COVER - Copy

 

        หลังจากที่ทาง "เซ็นทรัล" คว้าสิทธ์เช่า Block A สยามสแควร์ไปนั้น ตัวผมเองก็ยังคิดไม่ตกเลยว่าตัวโครงการเค้าจะเลือกใช้ชื่ออะไรกันนะ พิกัดนี้มันมีชื่อเรียกติดปากเยอะไปหมดจริง ๆ 555555

        และจากที่ผมเคยบอกไปในบทความ ส่อง "สยามสแควร์" หลังเซ็นทรัลคว้าบล็อก A พื้นที่ 7 ไร่ ในทำเลสุดไพรม์ (คลิก!!!) ไปว่าพื้นที่โซนนี้เป็นของ "จุฬาฯ" เกือบหมด

        กินพื้นที่ยาวตั้งแต่โซนสยามแสควร์ และโซนสวนหลวง-สามย่าน รวม ๆ แล้วก็ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นแลนด์ลอร์ดใหญ่ มีที่ดินในมือกลางใจเมืองย่านปทุมวันมากถึง 1,153 ไร่ 

        ซึ่งการถือครองที่ดินสุดไพรม์นี้เอง ที่ช่วยสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยมหาศาลให้กับเค้า จนเรียกได้ว่า "แทบจะไม่ใช่สถาบันการศึกษา แทบจะเป็นดีวีลอปเปอร์เจ้านึงแล้ว" ฮ่า ๆๆๆ

 

01-1-1024x768

 

        โดยปัจจุบัน จุฬาฯ แบ่งที่ดินบริหารจัดการออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1.เขตการศึกษา 595 ไร่  2.ส่วนหน่วยงานราชการเช่า 184 ไร่ และ 3.เขตพาณิชย์ 374 ไร่ 

        แต่ละส่วนต่างก็มีแผนพัฒนาโครงการในอนาคตอีกมากมาย โดยเฉพาะเขตพาณิชย์อย่างโซนสยามสแควร์และโซนสวนหลวง-สามย่านที่เราจะเห็นเอกชนตบเท้าเข้าเจรจาไม่ขาดสาย

        แต่เพื่อน ๆ เคยเกิดคำถามขึ้นมาในใจกันมั้ยครับ... กว่าจะเป็น “แลนด์ลอร์ด” กลางใจเมืองย่านปทุมวันอย่างทุกวันนี้ "จุฬาฯ" ได้ที่ดินมาจากไหนกันนะ?

        จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่างก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดครับ ยังคงเป็นที่ถกเถียงทางมุมมองกันว่าได้รับประราชทานฯ หรือได้มาเพราะคณะราษฏร์กันแน่ 

        มีนักวิชาการหลายคนได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ผมขอสรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ ละกันนะ ถ้าใครอยากอ่านที่มาสามารถตามไปดูอ้างอิงได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้นะ

 

09-3-1024x1018

 

เดิมทีกษัตริย์ครอบครอง

 

        หากย้อนกลับไปถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ดินนี้ยังไม่มีโฉนดเลยด้วยซ้ำ แต่ก็อยู่ในการครอบครองของท่าน โดยท่านใช้ที่ดินนี้เพื่อประโยชน์ส่วนพระองค์ ทรงให้ใช้ที่ดินนี้เก็บผลประโยชน์เพื่อบาทบริจาริกา (ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์: ราชบัณฑิตยสถาน)

        ส่งต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของสถาบันการศึกษาแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับแบบเก่า) ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง

        หลังสำเร็จการศึกษาให้นักเรียนเหล่านี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก จึงมีการเปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไป และเห็นควรว่าน่าจะขยายกิจการให้กว้างขวางขึ้น

        พระองค์จึงได้พระราชทาน “เงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า จำนวน 982,672.47 บาท” ให้เป็นกองทุนสำหรับใช้ปลูกสร้างอาคารเรียน พร้อมกับกำหนดให้ที่ดินตำบลปทุมวัน ซึ่งอยู่ในความดูแลของพระคลังข้างที่เป็นอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1,309 ไร่ 

        และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการของโรงเรียนต่อไป ทั้งนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนิน และทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา (โรงเรียนฝึกหัดครู) โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา (โรงเรียนกฎหมาย) และโรงเรียนยันตรศึกษา

        ทั้งเงินทุนพระราชทานและที่ดินพระราชทานนี้ ถือว่าเป็นกองทุนสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่แรกเริ่ม อย่างไรก็ดียังมิได้พระราชทานกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างเด็ดขาด เนื่องจากยังติดอยู่ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ ดังนั้นในทางทฤษฎี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องทำสัญญาเช่าที่ดินกับพระคลังข้างที่

        ซึ่งจนถึงตอนนี้ที่ดินนี้ก็ยังไม่มีโฉนดนะครับ เพราะสมัยนั้นยังไม่สนใจเรื่องโฉนดที่ดินกันมากนัก ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม 2459 พระองค์เลยได้ทรงออกโฉนดที่ดินในครอบครองนี้ให้กับพระองค์เองเป็นโฉนดที่ดินฉบับที่ 2057 2058 และ 2059 

 

cu100-story-024-01

 

จุดเปลี่ยนของแผ่นดิน

 

         สถาบันการศึกษานี้ก็ได้ดำเนินการสอนมาเรื่อย ๆ สืบเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่ 8 ปรากฏหลักฐานสารบัญจดทะเบียนว่าเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2478 พระองค์ทรงให้จุฬาฯ เช่าที่ดินเป็นเวลา 30 ปี 

         แต่พอถึง 12 ธันวาคม 2483  พันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออกกฎหมายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้มหาวิทยาลัย เปลี่ยนนามผู้ถือเป็นกระทรวงการคลัง (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) และในวันเดียวกันจุฬาฯ ก็ทำสัญญาเลิกเช่าและกระทรวงการคลังก็ “ให้” ที่ดินสองแปลงนี้แก่จุฬาฯ

         ตามรายละเอียดปรากฏใน “พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน อันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๘๒” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานผืนนี้มาโดยสมบูรณ์

         จุดนี้เองเลยเป็นข้อกังขาที่ต้องยอมรับครับว่าการโอนที่ดินให้จุฬาฯ จากเดิมเช่าปลูกสร้างสถานศึกษานั้นเกิดขึ้นในสมัยคณะราษฎรจริง ๆ เพราะถ้าเป็นรัฐบาลในสถานการณ์ปกติคงไม่ได้เกิดขึ้น โดยมติคณะรัฐมนตรี  ได้ลงมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเงื่อนไขในพระบรมราชโองการรัชกาลที่ 5 

         ซึ่งให้ยกที่ดินรายนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์ เพื่อเก็บผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินนั้นเฉลี่ยส่วนให้บาทบริจาริกาเป็นคราว ๆ ฉะนั้นการที่จะโอนไปให้แก่จุฬาฯ จะกระทำได้ก็แต่โดยทางพระราชบัญญัติ กระทรวงการคลังจึงขอเสนอร่างพระราชบัญญัติ

         สรุปก็คือวิวัฒนาการของที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผืนนี้นั้น เริ่มจากพระมหากษัตริย์ทรงใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ส่วนพระองค์ ก่อนจะพัฒนาก่อตั้งมาเป็นสถาบันการศึกษาภายในวัง และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่

         ด้านสิทธ์ของที่ดินแรกเริ่มเดิมทีอยู่ในความครอบครองของพระมหากษัตริย์ จนมีการพระราชทานเงินทุนก่อตั้งสถาบันการศึกษา และออกโฉนดที่ดินในครอบครองนี้ให้กับพระมหากษัตริย์ ก่อนที่ภายหลังเปลี่ยนเป็นปล่อยเช่าให้กับทางมหาวิทยาลัย

         เดือนตุลาคม พ.ศ. 2482 รัฐบาลคณะราษฎรจึงได้ผลักดันให้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนี้ไปสู่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และให้เป็นทรัพย์สินเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมดนั่นเอง

 

cu100-story-024-02

 

สรุป

 

        จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงด้านมุมมองกันอยู่ดีครับ ว่าที่ดินนี้ควรอ้างสิทธ์ได้มาจากไหนกันแน่ แต่ที่แน่ ๆ ก็คือการที่ "จุฬาฯ" ถือครองที่ดินสุดไพร์มนี้ ส่งผลให้จุฬามีรายได้มหาศาลจากการให้เช่าที่ดินทั้งแก่ภาครัฐและภาคเอกชน 

        กลายเป็นทรัพยากรสำคัญของจุฬาฯ ในการพัฒนาการเรียนการสอน และความสะดวกสบายแก่บุคลากรของจุฬาฯ จนถึงทุกวันนี้  จากข้อมูลตัวเลขรายได้ของจุฬาฯ ในปี 2558 พบว่ามีรายได้รวมทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึง 21,538 ล้านบาท

        แบ่งเป็นจากรัฐบาล 7,117 ล้านบาท จากการดำเนินงานของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน 4,950 ล้านบาท และจากการจัดการศึกษา 2,927 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันผ่านมาถึง 6 ปีจากข้อมูลนั้นย่อมมีรายได้มากกว่าเดิมอย่างแน่นอน

        ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจนะ... ว่าเคยมีการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหรือเปล่า ส่วนตัวแล้วผมว่ายังไง "จุฬาฯ" ก็ติดอันดับแบบไม่ต้องสงสัย เพราะแค่รายได้ของมหาลัยเอง ก็มากกว่างบประมาณแผ่นดินที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้รับแล้ว อิอิ

 

cu100-story-024-03

cu100-story-024-04

cu100-story-024-05

 

livingpop-pmcu-samyan-mitrtown

livingpop-pmcu-siamsquare-one-2

livingpop-pmcu-cu-centenary-park

livingpop-pmcu-onesiamskywalk

livingpop-pmcu-stadium-one

livingpop-pmcu-suanluang-square

 

References :

- http://www.cu100.chula.ac.th/story/386/

- https://www.thansettakij.com/property/496475

- https://mgronline.com/politics/detail/9630000083891

- https://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement3998.htm

Tag : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ที่ดินจุฬา | ปทุมวัน



ติดดอยแนะนำ

ติดดอยรีวิว

"The Origin Sukhumvit - Praksa" คอนโดที่คุ้มค่า ราคาดีที่สุด ย่านแพรกษา!

คอนโดพร้อมเฟอร์ฯราคาแค่ 1.25 ล้านบาท แต่ได้เรตค่าเช่าแถว 7,000 บ./เดือน คิดเป็นยิลด์ผลตอบแทนเบื้องต้นถึง 7%!!

“dcondo sand Hatyai” คอนโดใหม่ ใจกลางหาดใหญ่ ใกล้เซ็นทรัล เริ่ม 1.79 ล้านพร้อมเฟอร์!!

สมัยวัยละอ่อน เคยคิดว่า "หาดใหญ่" เป็นจังหวัด น่าอายจัง ฮิฮิ เคยมีใครเป็นเหมือนผมไหม? คือมันรู้สึกมีความเจริญไง มีที่ท่องเที่ยว มีห้างใหญ่ๆ มีมหาวิทยาลัย

"CHAPTER ONE ALL RAMINTRA" ชื่อ Chapter One ไม่เคยทำให้ผิดหวัง!

หลังจากที่ทาง "พฤกษา" หรือ "พี่ต้นไม้" ของพวกเรา เว้นวรรคการเปิดโครงการใหม่มาได้ระยะหนึ่ง มีการปรับพอร์ต เคลียร์สต๊อกระดับแสนล้านไปได้เยอะทีเดียว ขายดีจนเหลือไม่เยอะล่ะ


ติดดอยโร้ดทู

"SO Origin Lasalle" โครงการที่ครบครันทุกอย่าง และตั้งตระหง่านต้นซอยสุขุมวิท 105

โปรเจ็คใหม่ของพี่อัศวินปีนี้มีเยอะมากและน่าสนใจหลายโครงการเลย

"KLOS RATCHADA 7" คอนโดใหม่จากเฟรเซอร์สฯ ใกล้กว่าที่คิด ชิดกว่าที่เคย บนทำเลสุดปังหลัง The Street รัชดาฯ

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าวันนี้ได้มาเดินดูทำเล 'คอนโด' จาก 'เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม' โอกาสแบบนี้หาได้ยากนะ อิอิ ปีนี้ทางเฟรเซอร์ฯ มีแฟนเปิดตัวคอนโดหนึ่งโครงการครับ เป็นโครงการที่ทำเลดีซะด้วย เพราะปักหมุดอยู่รัชดาฯ ไอทางด้านผมเองก็เป็นเพจคอนโดเนอะ ขอไปเจ๊าะแจ๊ะ จอยๆ เดินดูทำเลสักหน่อยซิจะดีสักแค่ไหนกันเชียว!!

"NICHE MONO Bangpo" คอนโดวิวแม่น้ำตัวใหญ่ ยักษ์ใหญ่แห่งบางโพ

เห็นลือกันว่าเตรียมเปิดขายปีหน้า ผมเลยแวะมาดูภาพรวมทำเลเค้าเสียหน่อย


ติดดอยสไตล์

SeaPod Oceanfront Living บ้านกลางน้ำจาก "ปานามา

ล้ำเกิ้น!! วันก่อนเห็นภาพที่อยู่อาศัยแบบใหม่ ที่เห็นแล้วต้องเลื่อนขึ้นไปดูรูปอีกครั้งเพราะการออกแบบเตะตามากจนต้องหาข้อมูลอ่านต่อว่าเป็นของจริง หรือภาพจากหนัง Sci-fi กันแน่ สรุปว่าเป็นของจริง!! โครงการนี้คือ 'SeaPod' เป็นที่พักอาศัยแบบ 'Oceanfront Living' ตั้งอยู่ใน Linton Bay Marinaประเทศปานามา

เปิดลิสต์ทำเลทอง! รวมทำเลค่ายอสังหารับซื้อตอนนี้!!!

เพื่อน ๆ คนไหนมีที่ดินแล้วยังไม่มีแผนจะพัฒนาบ้าง ตอนนี้หลายค่ายอสังหาเค้ากำลังประกาศรับซื้อที่ดินอยู่นะ!!!

ส่องขุมกำลัง “ห้าแยกลาดพร้าว” ย่านเศรษฐกิจใหม่ที่เนื้อหอมที่สุดในตอนนี้

นาทีนี้ไม่มีย่านไหนที่เนื้อหอมที่สุดเท่าย่านเศรษฐกิจใหม่อย่าง "ห้าแยกลาดพร้าว" แล้วล่ะครับ

Qottontale Cafe พิกัดเพลินจิต บรรยากาศเพลินใจ มีดาดฟ้าด้วย!

วันนี้พาเพื่อน ๆ ไปพักผ่อนกายใจถ่ายรูปสวย ๆ กันที่คาเฟ่ย่านเพลินจิตกันครับ ตัวร้านอยู่ซอยร่วมฤดี แต่ให้ฟีลดีเหมือนอยู่เกาหลีเลยนะ

"dcondo sand Hatyai" ไขข้อข้องใจ ห้องไหนดีห้องไหนโดน

ในที่สุด ก็ถึงฤกษ์งามยามดี "พี่สิบหมื่น" จะเปิดแผงให้จับจองเป็นเจ้าของกันแล้วนะ กับ "dcondo sand Hatyai"

#ติดดอยรวมมาให้ "ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน" มีนาคม 2566

ดอกเบี้ยบ้านปรับขึ้นอีกแล้ว!!! ตอนนี้ทุกธนาคารพาณิชย์ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ MRR , MLR , MOR กันทุกธนาคารแล้วนะครับ


© 2018 CONDOTIDDOI

ME ESTATE CO.,LTD
92/21 HOLLYWOOD STREET CENTER
PHAYATHAI RD. RACHATEVEE
BANGKOK 10400 THAILAND

02-656-6776
condotiddoi@gmail.com

CONTACT US

CONDOTIDDOI

CONDOTIDDOI

CONDOTIDDOI

085-546-4694

info.condotiddoi@gmail.com

Copyright www.condotiddoi.com © 2018
web design & programming by www.smilephp.com