คงต้องพูดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น้ำท่วมทุกปี แต่ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคงเป็นช่วงปี 2554 แต่ถึงอย่างนั้นผ่านไป 10 ปีแล้วตอนนี้เราก็ยังคงเห็นข่าวน้ำท่วมกันอยู่เรื่อยๆ
อย่างล่าสุดที่ผ่านมาเรียกว่าเดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้า ต่างจังหวัดขอใช้คำว่า "อ่วมระนาว" ทางด้านกรุงเทพฯ เองก็เสียวสันหลังอยู่ตลอดเพราะถูกล้อมรอบไว้หมด
เราเห็นเหตุการณ์น้ำท่วมกันมาตลอดแต่มันก็ยังเกิดขึ้นอยู่อีกเรื่อยๆ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเหมือนกับว่าไม่ได้มีการเตรียมการรับมือที่สมเหตุสมผลเท่าไหร่ยังไงยังงั้น
มาถึงตรงนี้เราก็คงจะได้ยินที่นักวิชาการพูดกันบ่อยๆ เวลาเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมว่า "ไปดูระบบจัดการน้ำท่วมของเนเธอร์แลนด์สิ" ทำไมต้องพูดแบบนี้เสมอเวลาที่เกิดน้ำท่วม? นั่นก็เพราะว่าถ้าพูดถึงระบบจัดการน้ำที่ดี เราก็ต้องหันไปดูทางฝั่งประเทศทางยุโรปตะวันตกแห่งนี้นี่แหละครับ
ก่อนหน้านี้เนเธอร์แลนด์เจอปัญหาน้ำท่วมเมืองมาตลอด นั่นเพราะประเทศของเค้ามีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำ และพื้นที่เกือบทั้งหมดของประเทศอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ต้องสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำกับทะเลมาอยู่แล้ว
แต่ถึงอย่างนั้นเมืองกังหันลมก็ต้องพบกับหายนะน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 1953 ตอนนั้นมีพายุฝนลูกใหญ่เข้าประเทศ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ที่เรียกว่า "North Sea Flood"
ในตอนนั้นพื้นที่กว่า 930,000 ไร่ของเนเธอร์แลนด์จมอยู่ใต้ผืนน้ำ บ้านเรือนเสียหาย พื้นที่การเกษตรก็เละเทะ แถมยังมีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 2,000 คนเลยทีเดียว
และเพราะไม่อยากเจอกับภัยธรรมชาติแบบนี้อีก เรียกว่าอดทนกันมามากพอแล้วกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ผ่านไปได้ 20 วันรัฐบาลจึงผุดหน่วยงาน Deltaplan ขึ้นมา เพื่อแนะนำแนวทางก่อสร้างและปฏิบัติของโครงการ Deltaplan แก้ไขและจัดการปัญหาป้องกันน้ำท่วมแบบระยะยาว จุดเริ่มต้นของโครงการ “Delta Works” หรือโครงการระบบจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ที่โด่งดังไปทั่วโลกนี่แหละ
สำหรับ "Delta Works" ถือได้ว่าเป็นโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพราะใช้งบประมาณไปกว่า 2.5 แสนล้านบาท ทำให้ประชาชนชาวเนเธอร์แลนด์ต้องเสียภาษีน้ำท่วม หรือก็คือ Flood Tax เพื่อนำมาเงินที่ว่ามาเป็นงบในการดูแลและพัฒนาโครงการ
พูดง่ายๆ คือเป็นประเทศที่ต้องจ่ายภาษีน้ำท่วมแลกกับระบบจัดการน้ำที่ดีที่สุดในโลกครับ ถามว่าคุ้มมั้ยก็คุ้มนะ แลกกับการไม่ต้องถูกน้ำท่วม สูญเสียทรัพยากรทั้งหลายไปทุกปีๆ แบบนั้น
ไอ้เจ้า "Delta Works" มันคือโครงการระบบจัดการน้ำที่ใช้วิศวกรรมขนาดใหญ่เข้ามาแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ใช้วิธีการสร้างเขื่อน ประตูระบายน้ำ พนังกั้นน้ำ สถานีสูบน้ำ คันกั้นดิน รวมไปถึงกำแพงกั้นคลื่นทะเล กั้นเอาไว้ตรงปากแม่น้ำและลำน้ำในประเทศ ป้องกันน้ำท่วมจากพื้นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม
สำหรับเขื่อนที่ว่านั้นจะมีพนังกั้นน้ำที่มีความสามารถสกัดคลื่นสูงได้ถึง 40 ฟุตจากระดับน้ำทะเลครับ แต่นอกเหนือจากนั้นยังทำหน้าที่เป็นตัวกั้นน้ำทะเลกับแม่น้ำไม่ให้ไหลรวมกันอีกด้วย
แต่แน่นอนว่านอกจากระบบป้องกันน้ำท่วมแล้ว เนเธอร์แลนด์เค้ามองการณ์ไกลไปถึงปัญหาและความท้าทายในอนาคตอย่างการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรนะ
เมื่อทางน้ำถูกแยกให้อยู่ไกลจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชนมากขึ้น ความเสี่ยงต่อน้ำท่วมก็จะลดน้อยลง แต่ในอนาคตประชากรจะเพิ่มขึ้น นั่นเท่ากับว่าความต้องการในพื้นที่อยู่อาศัยก็จะเพิ่มขึ้นตาม ชาวดัชต์จึงต้องคิดค้นหาหนทางที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน
จะเอาให้เห็นภาพก็คือสนามบินสกิปโฮล สนามบินหลักของเนเธอร์แลนด์ ที่ในอดีตเป็นพื้นที่น้ำที่กว้างใหญ่ ตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 4 เมตร แต่รัฐบาลสั่งระบายน้ำออกใช้เวลานานเกือบ 3 ปี ในที่สุดก็สามารถเปลี่ยนพื้นที่ส่วนนี้ให้กลายมาเป็นสนามบินและพื้นที่ทำการเกษตรที่สำคัญของประเทศได้
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ Fleveland จังหวัดใหม่ของเนเธอร์แลนด์ที่เผื่อใครไม่รู้นะครับ พี่เนเธอร์แลนด์เค้ากั้นอ่าวถ่ายน้ำเพื่อสร้างผืนดินกันแบบจริงจังจนสามารถตั้งเป็นจังหวัดใหม่ได้ เข้ากันได้ดีกับวลีที่แสนโด่งดังอย่าง "God created the earth, but the Dutch created the Netherlands" สุดๆ
แม้เนเธอร์แลนด์จะลงทุนมหาศาลกับโครงการป้องกันน้ำท่วมภายในประเทศ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากว่าการที่ต้องมาชดเชยค่าเสียหายให้กับประชาชนทุกครั้งที่เกิดอุทกภัย แถม Delta Works ยังสร้างประโยชน์ให้ประเทศได้อีกหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสภาพน้ำให้กลายเป็นน้ำจืดสำหรับการทำการเกษตร การปรับสมดุลระดับน้ำในแม่น้ำ เกิดการสร้างสะพานและอุโมงค์ใต้ดินเป็นเส้นทางการสัญจรไปยังเกาะและแหลมต่างๆ แถมยังสร้างเส้นทางขนส่งทางเรือระหว่างท่าเรือ Antwerp และ Rotterdam อีกด้วย
ความจริงแล้ว Delta Works เป็นโครงการระยะยาวที่จนถึงตอนนี้เค้าก็ยังคงพัฒนา ต่อเติม หรือซ่อมแซมกันอยู่เรื่อยๆ ครับ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแบบสุดขั้วที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนนั้น แม้แต่ Delta Works ของเนเธอร์แลนด์ก็ยังเจอกับความท้าทายเลยนะ
แต่ยังไงซะมันก็ดีกว่าการไม่มีอะไรมาช่วยรับมือนะครับ พูดไปแล้วกรุงเทพฯ ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่เนเธอแลนด์เองก็เช่นกัน แต่ทางนั้นเค้ายังคลอดสิ่งก่อสร้างยักษ์ใหญ่เพื่อรับมือกับอุทกภัยได้อยู่เรื่อยๆ เรียกว่าปรับตัวได้ดีกับสภาวะขึ้นๆ ลงๆ ของโลกได้นั่นแหละ
ถึงอย่างนั้นปัญหาคือบ้านเราไม่ได้มีสภาพพื้นที่เหมือนยุโรป Delta Works อาจไม่ได้ผลดีในบ้านเรา ด้วยปัญหาดินทรุดเอยหรือการเวนที่เอย มันเลยอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าลองจับจุดและนำมาพัฒนาให้เข้ากับระบบนิเวศบ้านเราได้มันก็ดีนะครับ เผื่อวันหน้าเราจะได้ลดความเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เริ่มเอาแน่เอานอนไม่ได้พวกนี้บ้าง
Tag :
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป
ยกให้เป็นร้านผลไม้เคลือบน้ำตาลที่ผมชอบที่สุด อร่อยที่สุด และหากินยากที่สุดด้วย!!!
เปิด “สโคป ทองหล่อ” อัลตร้าลักซ์ชูรี All-Penthouse แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์บนทำเลทองย่านสุขุมวิท-ทองหล่อ
การที่ "Reference Ekkamai" (เรฟเฟอเรนซ์ เอกมัย) ของ "SC Asset" มาปักธงอยู่ตรงนี้ บริเวณปากซ.เอกมัย 1 จึงจัดเป็น 1 ในโครงการที่น่าสนใจที่สุดอย่างแน่นอน นี่คือทำเลแบบ One-Stop Location for Living ก็ว่าได้
ใครจะไปคิดว่าคาเฟ่ร่มรื่น ฟิลโฮมมี่ๆ สไตล์ญี่ปุ่นแบบนี้ จะซุกซ่อนอยู่ในย่านบางขุนนนท์นี่เอง!!