ถือเป็นข่าวใหญ่ของวงการโทรคมนาคมจริง ๆ สำหรับการควบรวมบริษัทของ "ทรู-ดีแทค" ซึ่งหลายคนต่างก็กลัวกันว่าจะเป็นการทำให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ
โดยการควบรวมกิจการครั้งนี้ไม่ได้เป็นการ Take Over ของฝั่งใดฝั่งหนึ่งนะ แต่เป็นการร่วมมือกันเป็นบริษัทใหม่ในฐานะบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company)
เอาจริง ๆ ส่วนตัวแล้วผมมองว่าถ้าในมุมมองทางธุรกิจก็ถือเป็นเรื่องที่ดีนะ เพราะทั้งคู่ต่างก็แข็งแกร่ง มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับประเทศอยู่แล้ว
แต่ติดที่ว่าฝั่ง "ทรู" เองที่มีชะงักติดหลังเกี่ยวกับบริษัทแม่อีกที ทำให้หลายคนมองว่าการควบรวมครั้งนี้จะเป็นการทำให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ และกินรวบทางธุรกิจมากเกินไป
ซึ่งก็ต้องบอกก่อนว่าผลของการควบรวมนี้จะออกมาเป็นยังไงก็ไม่มีใครรู้ รวมถึงฝั่งผู้บริโภคอย่างเราจะได้ผลดีหรือผลเสียมากกว่าก็เช่นกัน
ดังนั้นก่อนที่เราจะทำการสรุป และตัดสินว่าดีหรือไม่ดี วันนี้ผมได้สรุปเหตุผลที่ทั้ง 2 ค่ายนี้ตัดสินใจร่วมมือกันมาให้ลองอ่านกันดูครับ
เหตุผลในการควบรวมกิจการ
จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป โลกเข้าสู่สังคมยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น แต่ฝั่งบริษัทโทรคมนาคมแล้วกลับเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้น้อยมาก เพราะคนใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นทางผ่านเท่านั้น
ต่างจากในอดีตที่ธุรกิจโทรคมนาคมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้จากบริการ Voice และ Data รวมถึงบริการเสริมต่าง ๆ ที่สามารถให้บริการอยู่บนอีโคซิสเต็มของตัวเองได้
ซึ่งการจะแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดนั้น ก็ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลทั้งสำหรับการวางโครงข่าย พัฒนาสัญญาณ จนถึงค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่
ดังนั้นแล้วการมีเม็ดเงินมากกว่าย่อมหมายถึงสามารถพัฒนาได้มั่นคง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากขึ้นอีกด้วย
การควบรวมธุรกิจในครั้งนี้จึงสามารถสรุปได้ว่า เป็นการร่วมกันพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วของทั้งสองค่ายให้ดียิ่งขึ้น และมีความแข็งแกร่งในการพัฒนาสิ่งใหม่ในอนาคต
และที่สำคัญก็เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยังยืนในอนาคต และพลังในการแข่งขันตลาดแย่งชิงรายได้จากผู้นำตลาดอย่างเอไอเอสด้วยนั่นเอง
บริษัทใหม่ชัดเจนต้นปีหน้า
อย่างที่ผมไได้บอกไปตอนต้นครับว่าการควบรวมกิจการครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเข้าซื้อ Take Over ของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่เป็นการร่วมมือกันเพื่อลุยบริษัทใหม่
โดยบริษัทใหม่ที่ว่านี้ เค้าก็ยังไม่มีประกาศชื่ออย่างเป็นทางการออกมานะครับ แต่คาดการณ์ว่าน่าจะเห็นความชัดเจนในไตรมาสแรกปี 2565 ที่จะถึงนี้
ซึ่งบริษัทใหม่นี้ จะเพิ่มการทำธุรกิจในการสร้าง Ecosystem ใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากโทรคมนาคม เช่น การพัฒนาบริการ จากเม็ดเงินการลงทุนจากทั้งสองบริษัท
ซึ่งรวมกันเป็นเม็ดเงินจะมีความแข็งแกร่งที่เพียงพอในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน กับเอไอเอส และสร้างรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น
แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะราบรื่น
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรียกทั้งสองบริษัทเข้าชี้แจงด้วยนะครับ
เพราะตามระเบียบแล้วทั้งสองบริษัทต้องรายงานทางกสทช. เพื่อให้มีการตรวจสอบป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดอย่างไม่เป็นธรรม มิเช่นนั้นอาจมีความผิดทางปกครองจนถูกสั่งยกเลิกได้
โดยทั้งสองบริษัทต้องชี้แจงรายละเอียดและทำตามกฎระเบียบ อีกทั้งทางกสทช.เองยังอาจเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะทางมาบังคับใช้
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างต่อสาธารณะ หรือการผูกขาดจนเกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ทั้งหมดนี้ต้องผ่านความเห็นชอบจากทางกสทช.ทั้งสิ้น
ซึ่งเรื่องราวการควบรวมกิจการครั้งนี้จะราบรื่นเพียงไร? ถูกกำหนดกฎเกณฑ์อะไรเพิ่มเติมมากขนาดไหน? พวกเราฝั่งผู้บริโภคก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ
เพราะอย่างลืมครับว่าแม้ทั้ง 2 บริษัทจะรวมเป็นหนึ่ง และขึ้นสู่อันดับหนึ่งของโทรคมนาคมไทยได้ แต่เมื่อผู้ให้บริการคนหนึ่งไปรวมกับคนที่เหลือ
นอกจากมูลค่าของบริษัทจะเปลี่ยนไป ยังทำให้เกิดความหวั่นใจด้วยว่า สุดท้ายนี่จะเป็นอีกตลาดที่ถูกผูกขาดจากการมีผู้ให้บริการเพียงไม่กี่เจ้า
ย้อนดูการควบรวมของต่างประเทศ
การควบรวมของ 2 บริษัทไทยในครั้งนี้ เราก็ยังไม่รู้ได้ว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียต่อผู้บริโภคมากแค่ไหน แต่ถ้าหากสำเร็จและเกิดการผูกขาดขึ้นจริงจะทำยังไงล่ะ?
แน่นอนในต่างประเทศเองก็เคยเกิดเคสแบบนี้ขึ้นกับธุรกิจในกลุ่มโทรคมนาคมเช่นกันครับ อย่างกรณีอิตาลีการควบรวมกิจการของ Wind และ H3G เป็น Wind Tre
ทำให้จำนวนผู้ให้บริการในประเทศลดลงจาก 4 เหลือ 3 ราย ทางคณะกรรมาธิการยุโรปจึงเสนอให้ทั้งสองบริษัทมอบคลื่นสัญญาณ โครงข่าย
รวมถึงเปิดโรมมิ่งให้ผู้บริการรายที่ 4 มีโอกาสเข้ามาในตลาด ซึ่งในกรณีนี้ได้แก่ Illiad บริษัทโทรคมนาคมจากฝรั่งเศสนั่นเอง
และเคสแบบนี้ก็ยังถูกนำไปใช้ในสหรัฐฯ เช่นกัน กับกรณีการควบรวม T-Mobile กับ Sprint ที่มีการแยกบริษัทบางส่วน รวมถึงแบ่งเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ของทั้งสองบริษัทให้แก่ Dish
ซึ่งเป็นบริษัททีวีดาวเทียมผู้ให้บริการเจ้าใหม่ อนุญาตให้ใช้งานสัญญาณและโครงข่ายของพวกเขาไปอย่างน้อย 7 ปี เพื่อไม่ให้เป็นการลดจำนวนผู้ให้บริการ และเป็นการกระจายทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการไปในตัว
สำหรับประเทศไทยเราก็คงต้องฝากความหวังไว้กับ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแหละเนอะ ว่าจะรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการมากแค่ไหน
มาถึงตรงนี้แล้วเพื่อน ๆ คิดเห็นยังไงกันบ้างครับ คิดว่าบริษัทใหม่นี้จะสามารถแย่งชิงอันดับ 1 ของตลาดโทรคมนาคมได้หรือไม่ ลองแสดงความคิดเห็นกันมานะครับ :)
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป
ยกให้เป็นร้านผลไม้เคลือบน้ำตาลที่ผมชอบที่สุด อร่อยที่สุด และหากินยากที่สุดด้วย!!!
เปิด “สโคป ทองหล่อ” อัลตร้าลักซ์ชูรี All-Penthouse แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์บนทำเลทองย่านสุขุมวิท-ทองหล่อ