เป็นปัญหาหนักใจของคนที่กำลังคิดสร้างบ้านจริง ๆ นะครับ จะเลือกใช้โครงสร้างไหนดีกันนะ โครงสร้างคอนกรีตก็ฮอตฮิต โครงสร้างเหล็กก็มาแรง
ราคาก็ต่างกัน ระยะเวลาก่อสร้างก็ต่างกัน ดูทางไหนก็ต่างกันไปหมด แต่สิ่งที่ออกมาได้มันก็เป็น "บ้าน" เป็น "อาคาร" เหมือนกันนี่หว่า ฮ่า ๆๆๆ
ใช่ครับ... ทั้ง 2 โครงสร้างสามารถนำมาก่อสร้างเป็นอาคารได้อย่างดีทั้งคู่ แต่ก็ล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป จะเลือกแค่เพราะเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งไม่ได้
วันนี้ผมเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปคลายสงสัยกันครับ ว่าทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันยังไง และเราควรจะเลือกโครงสร้างแบบไหนมาก่อสร้างอาคารที่เรารักกันนะ ไปทำรู้จักทั้ง 2 โครงสร้างกันเล๊ยยย
โครงสร้างเหล็ก
เรียกได้ว่าเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในวงการก่อสร้างเลยก็ว่าได้ครับ สำหรับการใช้ "โครงสร้างเหล็ก" มาก่อสร้างบ้าน ก่อสร้างอาคาร
เนื่องจากอาคารที่สร้างจากเหล็ก มีตัวเลือกในการใช้วัสดุก่อสร้างจากเหล็กที่หลากหลาย เพราะเหล็กมีหลายประเภทหลายชนิด ทำให้ได้โครงสร้างที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
โดยปัจจุบันเทคโนโลยีการก่อสร้างพัฒนาไปมาก เราจะเห็นได้ว่าเราสามารถใช้เหล็กสร้างบ้าน สร้างอาคารได้ทั้งหลัง ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุอื่นมาเป็นตัวเสริมในการก่อสร้างเเลย
เช่น การนำเหล็กรูปพรรณแต่ละชนิดมาเชื่อมต่อกันเป็นเสา คาน โครงรับพื้น โครงหลังคา ผนัง ตลอดจนพื้น ก็สามารถทำได้ ไม้ต้องใช้ส่วนประกอบที่หลากหลายเหมือนคอนกรีต
โดยประเภทของเหล็กที่นิยมนำมาใช้ใน 'โครงสร้างเหล็ก' ก็มีหลากหลายชนิดครับ เรียกได้ว่าเกือยทุกชนิดเลยล่ะ เพียงแต่ต้องเลือกประเภทการใช้งานที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของชนิดนั้น ๆ
ไม่ว่าจะเป็น เหล็กรูปพรรณเอชบีม (ไวด์แฟลงก์), เหล็กไอบีม, เหล็กฉาก, เหล็กรางน้ำ, เหล็กกล่องเหลี่ยม และ เหล็กกล่องแบน เป็นต้น
ผมขอยกตัวอย่างเหล็กที่พวกเรามักจะเห็นได้บ่อย ๆ อย่าง "เหล็กเอชบีม" (H-BEAM) ที่มีคุณสมบัติรับน้ำหนักได้มาก มีความทนทานสูงนะครับ
ด้วยคุณสมบัติเรื่องการรับน้ำหนักและทนทานนี่แหละทำให้เค้าฮอตมากเป็นพิเศษ มักจะถูกเลือกไปใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ สำหรับการทำโครงหลังคา เสา บ้านพักอาศัย หรือ โครงการขนาดใหญ่
ซึ่งการเลือกใช้โครงสร้างเหล็กแบบนี้ จะมีน้ำหนักโครงสร้างโดยรวมเบากว่าคอนกรีต ทำให้ประหยัดส่วนของฐานรากและเสาเข็มได้ เท่ากับว่าประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียลงไปได้เยอะ
แต่มีข้อสังเกตนิดนึงนะครับ เวลาหลายคนเห็น H-BEAM แล้วอาจจะสับสนกับพี่น้องอย่าง I-BEAM ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ซึ่งที่จริงแล้วเค้าใช้งานไม่เหมือนกัน ต้องสังเกตดี ๆ นะ
นอกจากนี้การใช้โครงสร้างเหล็กยังมีข้อดีอีกอย่างคือ "เหล็ก" เป็นวัสดุสำเร็จรูปที่ผลิตจากโรงงานมาอยู่แล้ว จึงได้มาตราฐานดีกว่าปูนหรือไม้
ซึ่งช่วยให้เรามั่นใจในคุณภาพของวัสดุมากกว่าการใช้คอนกรีตที่ต้องผสมเอง อีกทั้งยังประหยัดเวลาการก่อสร้างได้ดีกว่างานคอนกรีตเสริมเหล็กเท่าตัวเลยทีเดียว
สรุปก็คือการใช้ "โครงสร้างเหล็ก" แม้จะดูไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าคอนกรีต แต่ก็ให้ผลลัพท์ออกมาเป็นอาคารที่แข็งแรง ทนทานไม่แพ้กันเลย (และอาจจะมากกว่าด้วย 555)
แต่... จุดที่หลายคนไม่กล้าใช้ก็เพราะการใช้โครงสร้างเหล็กนั้นมีมูลค่างานโครงสร้างสูงกว่างานคอนกรีต ทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างมีราคาแพงกว่าบ้านที่ก่อด้วยวัสดุอื่น โดยเฉพาะโครงสร้าง เสา-คาน ประมาณ 30%
ซึ่งนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอาคารที่ใช้โครงสร้างเหล็กนั้นจะมีต้นทุนที่สูงกว่าโครงสร้างคอนกรีตนะครับ
เพราะเมื่อเทียบกับระยะเวลาการก่อสร้าง และแรงงานแล้ว รวม ๆ แทบไม่ต่างกันเลย ตอนนี้แรงงานหายาก ยิ่งใช้เวลานานก็ยิ่งเพิ่มต้นทุนการก่อสร้างไปด้วย
โครงสร้างคอนกรีต
ต่อกันที่ "โครงสร้างคอนกรีต" กันครับ ถือเป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมมายาวนานอย่าง และปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่นิยมอยู่อย่างต่อเนื่อง
สาเหตุที่ได้รับความนิยมมากขนาดก็หนีไม่พ้นเรื่องราคาเนี่ยแหละครับ โครงสร้างนี้มีราคาถูกกว่าโครงสร้างชนิดอื่น ๆ แถมหาซื้อง่ายด้วย
ซึ่งต้องเท้าความก่อนว่าโครงสร้างปูนมีส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ หิน กรวด ทราย และที่ขาดไม่ได้ คือ "น้ำ" ถือเป็นโครงสร้างที่มีส่วนประกอบที่หลากหลายชนิดเลย
ประเด็นมันอยู่ตรงนี้แหละครับ ส่วนประกอบที่หลากหลายทำให้ต้องใช้ความชำนาญในการผสม ถ้าทำไม่ดีอาจทำให้โครงสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐานก็ได้
ดังนั้น โครงสร้างคอนกรีต เลยได้วิวัฒนาการนำเหล็กเข้ามาเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบหลักในการสร้าง กลายเป็น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ค.ส.ล. นั่นเอง
เพราะคอนกรีตมีคุณสมบัติในการรับแรงอัดได้ดี แต่รับแรงดึงได้ค่อนข้างต่ำมาก การเสริมเหล็กจึงเป็นการเพิ่มคุณสมบัติแรงดึง ทำให้รับแรงของวัสดุโดยรวมได้มากยิ่งขึ้น
โดยจะสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 200 – 400 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สำหรับบ้านพักอาศัยและอาคารทั่วไปที่เราเห็น ๆ กันครับ
สำหรับชนิดของเหล็กที่เรานำมาเสริมในคอนกรีตนั้นก็จะมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ เหล็กเส้นกลม หรือเหล็ก RB (Round Bars) และเหล็กข้ออ้อย DB (Deformed Bars )
ปัจจุบันโครงสร้างคอนกรีตผสมเหล็กถูกพัฒนามาต่อเนื่องด้วยคุณภาพที่ได้มาตราฐานดีกว่าเมื่อก่อน สามารถหล่อขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีส่วนที่ต้องใช้ความชำนาญและความละเอียดรอบคอบของช่าง ทั้งในขั้นตอนเทคอนกรีต การบ่มคอนกรีต จนไปถึงการผูกเหล็กและทาบเหล็ก เพื่อให้คอนกรีตแข็งแรงเต็มประสิทธิภาพ
สรุปก็คือการใช้งานโครงสร้างคอนกรีตนั้น จริง ๆ แล้วส่วนมากก็มักจะใช้เป็นโครงสร้างคอนกรีตที่เสริมเหล็กเข้าไปอยู่ดี เพราะช่วยให้อาคารแข็งแรงทนทานกว่า
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างไหนก็ล้วนต้องมีเหล็กเป็นส่วนประกอบทั้งนั้น ถือเป็นพระเอกตัวจริงของวงการวัสดุก่อสร้างเลยก็ว่าได้ ฮ่า ๆๆๆ
สรุปโครงสร้างไหนดีกว่ากัน?
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ น่าจะพอทราบแล้วว่าโครงสร้างทั้ง 2 รูปแบบนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ผมคงไม่สามารถตอบแทนได้ว่าโครงสร้างไหนดีกว่า
สิ่งที่เราควรชั่งใจและคิดให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจก็คือ การเลือกโครงสร้างให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งาน และความชำนาญของช่างที่มีมากกว่า
เพราะแม้จะเลือกโครงสร้างที่ดีเพียงใด แต่หากนำไปใช้ไม่ถูกประเภท รับน้ำหนักมากไป สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ไม่ได้พร้อมที่จะดูแลในอนาคต ก็อาจจะมีผลกระทบตามมาได้
อีกทั้งการเลือกใช้ทีมงาน ช่างในการก่อสร้างก็เช่นกัน ช่างบางคนอาจจะมีความชำนาญบางโครงสร้างเป็นพิเศษ และอาจจะไม่คุ้นชินกับบางโครงสร้างก็ได้เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าถามความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้วผมก็แอบเชียร์ "โครงสร้างเหล็ก" ให้มีแต้มต่อกว่าโครงสร้างคอนกรีตนิดนึงนะ แหะ ๆ
เพราะปัจจุบันค่าแรงมีแนวโน้มแพงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โครงสร้างเหล็กเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก เนื่องจากก่อสร้างได้ไว ได้มาตรฐาน โครงการใหญ่ ๆ จึงหันมานิยมใช้โครงสร้างเหล็กเป็นส่วนใหญ่
อีกทั้งช่วงหลังมานี้ ผมเองได้มีโอกาสร่วมงานก่อสร้างที่เป็นโครงสร้างเหล็กพอสมควร ผลลัพท์ก็ออกมาดี ได้งานถูกใจ รวดเร็วกว่า แถมราคารวม ๆ แล้วก็ไม่ห่างกันมากด้วย
โดยผมได้รวบรวมความแตกต่างระหว่าง "โครงสร้างเหล็กและโครงสร้างคอนกรีต" จากประสบการณ์ส่วนตัวมาเป็นตารางเปรียบเทียบให้เรียบร้อย วัดกันหมัดต่อหมัดไปเลย 555
ก่อนจากกันวันนี้ สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะทำการก่อสร้างหรือต่อเติมบ้านกันอยู่ก็อย่าลืมเลือกใช้โครงสร้างเหล็กกันดูนะครับ ส่วนตัวแล้วผมใช้เหล็กของ Siam Yamato Steel (SYS) นะ
ถามว่าทำไมต้องที่นี่... เอาจริงผมก็ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้ไม่คิดเปลี่ยนใจก็เพราะเหล็กเค้ามีคุณภาพมาก ร่วมงานกันมาไม่เคยผิดหวังเลย
ที่สำคัญทุกครั้งที่เลือกใช้โครงสร้างเหล็กแล้วสั่งของไป เค้าก็มีให้เลยแบบไม่ต้อรอ ไซต์ที่แล้วอยู่ไกลถึงเชียงใหม่ก็มีตัวแทนคอยดูแลด้วย
อาจเป็นเพราะความมั่นใจที่สั่งสมกันมาเนี่ยแหละ ซึ่งผมว่าไม่ใช่แค่ผมคนเดียวนะ บริษัทเค้าอยู่มาตั้ง 25 ปี ต้องมีคนมั่นใจแบบผมอีกเพียบเลยล่ะ
วันนี้อาจจะพานอกเรื่องคอนโด เรื่องอสังหาไปบ้าง แต่ถ้าใครมีแผนสร้างบ้าน สร้างอาคารของตัวเองอยู่ ผมว่าบทความนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยครับ ฝากช่วยกันกดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ติดดอยของเราไปเสาะหาสาระดี ๆ มาฝากในครั้งในด้วยนะ บ๊ายบายยย
Tag : โครงสร้างเหล็ก | โครงสร้างคอนกรีต | SYS
นี่คือคอนโดที่ใกล้ "ลานชมเมืองภูเก็ต" บนเขารังมากที่สุด ทำให้คุณเห็นวิวเมืองภูเก็ตสวยๆตัดภูเขา ทะเล และท้องฟ้า ได้อย่างเต็มตา
ไม่อยากจะเชื่อว่า คอนโดที่มีค่าตัวเริ่มระดับ 7 หมื่นกลางๆ/ตร.ม. จะให้ สุขภัณฑ์อัตโนมัติ WASHLET (แบบที่ใช้ที่ญี่ปุ่นอ่ะ)
นอกจากทำเลติดถนนพระรามสี่อันโดดเด่นแล้ว ความน่าสนใจของ "The Crown Residences" แห่งนี้ ก็คือ "วิว" ที่หาได้ยากกกมว๊ากกกนี่ละ
เจ้าพ่อทำเลริมถนนเพชรเกษมนี่จะเป็นใครไปไม่ได้แล้วนอกจาก "ชัยพัฒนาที่ดิน"
"Asakan Elysium Phahol 59 Station" (อัสสกาญจน์ อีลิเซียม พหลฯ 59) จาก ASAKAN DEVELOPMENT คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสถานีพหลโยธิน 59 เพียง 50 ม. เท่านั้น!!
'So Origin Sukhumvit 105' (โซ ออริจิ้น สุขุมวิท 105) ถ้ารู้สึกว่าชื่อมันฟังดูแล้วคุ้นๆ หูจังแหะ ใช่ครับ มันคือตัวเดียวกับ 'โซ ออริจิ้น ลาซาล' นั่นแหละ เปลี่ยนตัวห้อยท้ายนิดหน่อย (แต่ส่วนตัวแอบชอบชื่อเก่ามากกว่า)
ไหนใครกำลังจะรีไฟแนนซ์กันบ้าง ใครกำลังผ่อนบ้านอยู่เพลิน ๆ นี่ห้ามลืมเด็ดเลยนะ เพราะหนี้บ้านพอพ้น 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดเลย
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง...
ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT พระราม 9 ประมาณ 420 ม. เป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญวิ่งเป็น Loop เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายอื่นมากมาย จะไปไหนก็ง่ายดาย
‘ภูมิสถาปนิค‘ ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า “Lanscape โครงการนี้สวยที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ไม่มีที่ไหนใกล้เคียงความเป็น ‘สวนแบบ Classic’ ที่เป็น ‘quite luxury’ ได้เท่านี้แล้ว“
เฮ้ย! เนื้อที่ดีมันเป็นแบบนี้นี่เอง 5555
นูเทลล่า ทำมาจากถั่วเฮเซลนัท และ ช็อคโกแล็ต ช็อคโกแล็ตมาจากต้นโกโก้ ถั่ว และ โกโก้ = พืช พืช = ผัก กินผัก = ผอม โอเค กินเมนูนี้ได้แบบไม่รู้สึกผิดแล้ว 5555