หลังจากที่ "รัสเซีย" ประกาศบุก "ยูเครน" อย่างที่เราทราบกันในช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้ ประเด็นที่เราจะเห็นตามมาก็คือ การออกมา "คว่ำบาตร" รัสเซียจากหลายๆ ประเทศครับ
เราจะเห็นเลยว่ามีหลายประเทศออกมาประกาศสนับสนุนให้ความช่วยเหลือยูเครน และพร้อมๆ กันนั้นก็มีอีกหลายประเทศที่คว่ำบาตรรัสเซียในหลายๆ ทาง
และหนึ่งในมาตรการคว่ำบาตรที่สำคัญและน่าสนใจมากๆ นั่นก็คือการตัดรัสเซียออกจากระบบการเงินโลก!?
นี่เป็นหนึ่งในมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจจากนานาชาติ และเป็นเครื่องมือที่หกชาติใหญ่แห่งโลกตะวันตกจับมือสหภาพยุโรป หรือก็คือ EU ใช้เพื่อลงโทษรัสเซียโดยการโดดเดี่ยวจากระบบการเงินของโลก
ซึ่งมาตรการที่ถูกเลือกนำมาใช้และเห็นผลเร็วทันตา ก็คือการถอดธนาคารรัสเซียบางรายออกจากระบบสื่อสารของ SWIFT
หลายคนอาจจะสงสัยว่า SWIFT คืออะไร มีความสำคัญยังไงกับกลไกการเงินโลกโดยเฉพาะทางฝั่งของยุโรปกันนะ ซึ่งถ้าให้พูดก็คือ SWIFT มีความสำคัญในแง่ที่เรียกได้ว่าเป็น "เส้นเลือดใหญ่ทางการเงินของโลก" เลยก็ว่าได้ครับ
และการตัดธนาคารรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT นั้นก็จะเป็นการสร้างหลักประกันว่าธนาคารรัสเซียจะถูกตัดออกจากระบบการเงินสากล ผลลัพธ์คืออะไร? ก็จะทำให้รัสเซียไม่สามารถทำธุรกรรมในระดับโลกได้น่ะสิ
SWIFT คืออะไร? และใครคุม?
ให้อธิบายโดยง่าย "SWIFT" ก็คือเครือข่ายการเงินระดับโลกที่ช่วยให้การโอนเงินข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วสมชื่อครับ โดยคำว่า สวิฟต์ (Swift) ย่อมาจากคำว่า Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication ก่อตั้งขึ้นมาในปี 1973 ทำหน้าที่เชื่อมต่อธนาคารและสถาบันต่างๆ กว่า 11,000 แห่ง ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก
สำหรับ SWIFT นั้นตั้งอยู่ในเบลเยียมครับ แต่มันไม่ใช่ธนาคารที่เราจะเดินๆ ไปตามถนนแล้วก็เจอได้นะ เพราะมันเป็นระบบส่งข้อความโต้ตอบแบบเรียลไทม์ เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเมื่อมีการนำส่งและชำระเงินต่างหาก
ความสามารถของ SWIFT นั้นทรงพลังมาก สามารถส่งข้อความได้มากกว่า 40 ล้านข้อความต่อวัน รองรับการแลกเปลี่ยนถ่ายโอนเงินจำนวนหลายล้านล้านดอลลาร์ ทั้งระหว่างภาคธุรกิจไปจนถึงระหว่างรัฐบาลของแต่ละประเทศ เรียกว่าเป็นการถ่ายโอนกันไปมาระหว่างบริษัทและรัฐบาลต่างๆ ได้แบบง่ายดายนั่นแหละ
ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือ มากกว่า 1% ของข้อความผ่าน SWIFT มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชำระเงินของชาวรัสเซียด้วย
คำถามต่อมาคือ ถ้ามันไม่ใช่ธนาคารที่เราจะเดินๆ ไปแล้วเจอตามหัวมุมถนนหรือในย่านใจกลางเมือง แล้วแบบนี้ใครเป็นคนควบคุมระบบการทำงานของมันล่ะ?
คำตอบคือ SWIFT นั้นก่อตั้งโดยธนาคารของยุโรปและสหรัฐฯ หลายแห่งร่วมกันครับ ดังนั้นการทำงานของ SWIFT จึงไม่จำเป็นต้องให้สถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งเข้ามาพัฒนาระบบของตัวเองและผูกขาดเลย
จะมีก็คือทางฝั่งของธนาคารแห่งชาติของเบลเยียมที่ร่วมมือกับธนาคารกลางที่สำคัญหลายแห่งทั่วโลกเพื่อดูแลระบบนี้ ซึ่งก็จะรวมไปถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางอังกฤษด้วย
ปกติแล้วการทำงานของ SWIFT นั้นจะไม่เลือกข้างความขัดแย้งครับ เพราะอย่างนั้นมันเลยช่วยให้การค้าระหว่างประเทศมีความปลอดภัยสูงในหมู่สมาชิก แต่ถ้าย้อนกลับไปดูในช่วงที่ผ่านมาเมื่อปี 2012 เราจะพบว่าอิหร่านเคยถูกตัดออกจากระบบ SWIFT ด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตรเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านนั่นเอง
และมาในปี 2022 ก็มาถึงคิวรัสเซีย
การตัดรัสเซียออกจาก SWIFT ส่งผลอย่างไร?
อยากให้ย้อนกลับไปดูสมัยที่อิหร่านถูกตัดออกจากระบบ SWIFT ในปี 2012 ก่อนครับ
การถูกแบนครั้งนั้นผลคืออิหร่านต้องสูญเสียรายได้จากการส่งออกน้ำมันเกือบครึ่งหนึ่ง และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศลดลงถึง 30%
ซึ่งในกรณีของรัสเซียนั้นต้องมีผลกระทบแน่นอน เพราะบริษัทต่างๆ ของรัสเซียจะไม่สามารถทำธุรกรรมได้แบบเรียลไทม์และที่สำคัญคือมันไม่ฉลุยเหมือนเดิมแล้ว การทำการค้า โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและพลังงานที่มีมูลค่ามหาศาลของรัสเซียก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามไปด้วย
ทางแก้คือธนาคารของรัสเซียจำเป็นต้องติดต่อกับธนาคารอีกแห่งที่เป็นคู่ค้าโดยตรงแทน ซึ่งในส่วนนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัสเซียจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นและแน่นอนว่ามันไม่สวิฟต์สมใจแล้ว
แต่เอาเถอะ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกครับที่รัสเซียเจอกับสถานการณ์นี้ ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2014 ก็เคยถูกขู่มาก่อนว่าจะไล่ออกจาก SWIFT ตอนที่รัสเซียผนวกรวมไครเมีย และในครั้งนั้นรัสเซียเลยก่อตั้งระบบบัตรชำระเงินแห่งชาติ หรือ National Payment Card System ขึ้นมาเป็นของตัวเอง รู้จักกันในนาม "Mir" สร้างมาเพื่อใช้ในกระบวนการชำระเงินผ่านบัตร แต่ระบบนี้ก็ใช้งานอยู่แค่ไม่กี่ประเทศเท่านั้น
ล่าสุดที่ผมเพิ่งเห็นข่าวมาก็คือตอนนี้ชาวรัสเซียชำระเงินเพื่อความบันเทิงจำพวก netflix หรือ spotify ด้วยบัตรธนาคารไม่ได้แล้วด้วย (ซึ่งทาง Visa และ Mastercard ก็เพิ่งประกาศแบนสถาบันการเงินรัสเซียออกจากเครือข่ายจ่ายเงินแล้วด้วยนะล่าสุด) แถมยังใช้ apple pay หรือ google pay ไม่ได้อีกต่างหาก
ผมเองมองว่าสงครามสมัยนี้มันเป็น modern warfare มากๆ คือสามารถกดดันได้หลายจุดไม่ใช่แค่การสู้รบบนสนามรบอย่างเดียว การโจมตีไปที่ cashless society บนโลกของ global citizens ก็สร้างความเดือดร้อนได้ไม่ต่างกัน
แต่ประเด็นคือมันก็มีคนรัสเซียจำนวนมากที่เขาต่อต้านสงครามแต่ต้องมาเดือดร้อนตามไปด้วยนี่แหละ สุดท้ายแล้วสงครามก็ไม่ได้สร้างผลดีอะไรให้กับประชาชนเลยจริงๆ
Tag :
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป
ยกให้เป็นร้านผลไม้เคลือบน้ำตาลที่ผมชอบที่สุด อร่อยที่สุด และหากินยากที่สุดด้วย!!!
เปิด “สโคป ทองหล่อ” อัลตร้าลักซ์ชูรี All-Penthouse แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์บนทำเลทองย่านสุขุมวิท-ทองหล่อ
การที่ "Reference Ekkamai" (เรฟเฟอเรนซ์ เอกมัย) ของ "SC Asset" มาปักธงอยู่ตรงนี้ บริเวณปากซ.เอกมัย 1 จึงจัดเป็น 1 ในโครงการที่น่าสนใจที่สุดอย่างแน่นอน นี่คือทำเลแบบ One-Stop Location for Living ก็ว่าได้
ใครจะไปคิดว่าคาเฟ่ร่มรื่น ฟิลโฮมมี่ๆ สไตล์ญี่ปุ่นแบบนี้ จะซุกซ่อนอยู่ในย่านบางขุนนนท์นี่เอง!!