เพื่อน ๆ เคยนึกสงสัยกันมั้ยครับ ว่าทำไมเดี๋ยวนี้อาคารส่วนใหญ่ถึงหันมาใช้โครงสร้างเหล็กกันเต็มไปหมด แล้วอายุการใช้งานอาคารโครงสร้างเหล็กนี่มันอยู่ได้นานกี่ปี?
ผมเองขอสารภาพเลยว่าย้อนกลับไปหน้านี้ซัก 10 ปี ผมก็ไม่ค่อยเชื่อมั่นกับโครงสร้างเหล็กเท่าไหร่ เกิดมา โตมาก็อาศัยอยู่แต่ในบ้านปูนจนรู้สึกคุ้นชินไปแล้ว
ผมเคยถามเพื่อนหลายคน ส่วนใหญ่มักจะมีความคิดฝังใจเหมือนกันว่า อาคารโครงสร้างเหล็กเป็นโครงสร้างชั่วคราวที่ไม่คงทนแข็งแรงเท่าปูนหรือคอนกรีต
แต่ถ้าเราลองนึกถึงสถาปัตยกรรมเจ๋ง ๆ จะเห็นได้ว่าทั้งหอไอเฟล ในฝรั่งเศส, สถานีรถไฟหัวลำโพง สะพานพุทธ ในไทยก็ล้วนมีอายุนานกว่า 100 ปีทั้งนั้น
นี่เลยเป็นข้อพิสูจน์ได้อย่างดีเลยว่า ความแข็งแรงของโครงสร้างและอาคารนั้น จะใช้เพียงความรู้สึกมาตัดสินไม่ได้ (ความรักก็เช่นกัน ฮิฮิ)
ส่วนที่สำคัญก็คือถ้าเลือกที่จะใช้ "โครงสร้างเหล็ก" ในการก่อสร้างแล้ว ต้องมีการออกแบบและเลือกใช้วัสดุสำคัญอย่าง "เหล็ก" ที่มีคุณภาพ เพื่อลดปัญหาที่จะตามมาหลังจากการใช้งานอาคารไปแล้วนั่นเองครับ
โครงสร้างเหล็กแข็งแรงทนทานแค่ไหน?
เรื่องนี้ไม่ต้องห่วงนะครับ ผมขอย้ำเลยว่างานโครงสร้างเหล็กมีความแข็งแรงทนทานแทบไม่ต่างกับโครงสร้างคอนกรีตเลย!!!
แต่ที่เรายังฝังใจอยู่อย่างนั้นก็เพราะเวลาดูรวม ๆ โครงสร้างเหล็กนั้นจะดูเบาบาง และมีขนาดของโครงสร้างเล็กกว่าโครงสร้างคอนกรีตด้วย
ทั้งนี้ก็เพราะการเลือกเหล็กมาใช้ในแต่ละส่วนของงานโครงสร้างเหล็กนั้น จะเลือกวัสดุที่ไม่เหมือนกัน เช่น ส่วนเสาก็จะใช้เหล็กที่มีขนาดใหญ่และมีความหนามากกว่าส่วนอื่น
ส่วนพื้นที่อื่นที่มีการรับแรงน้อยกว่าก็จะมีขนาดที่เล็กลง โดยวิศวกรโครงสร้างจะคำนวนขนาดที่เหมาะสมในแต่ละจุดอย่างถี่ถ้วนให้เมาะสมกับการใช้งานที่สุด
ซึ่งความพิเศษของ 'เหล็ก' คือเป็นวัสดุที่มีความแข็งและเหนียว จึงทำให้โครงสร้างนั้นทนทานไปด้วย แค่รับแรงและน้ำหนักให้ไหวก็หมดปัญหาโครงสร้างที่ตามมาได้เยอะเลย
อีกทั้งเมื่อถึงเวลาที่ต้องซ่อมแซมจริง ๆ งานโครงสร้างเหล็กนั้นยังซ่อมแซมได้ง่ายกว่าโครงสร้างคอนกรีตด้วยนะ เพราะโครงสร้างนั้นทำด้วย 'เหล็ก' การซ่อมแซมจึงสามารถทำได้โดยสะดวกกว่า เพียงแค่ตัดและเชื่อมโครงสร้างใหม่ลงไปก็เป็นอันเรียบร้อย
เหล็กเหมือนกัน แต่ใช้ต่างกัน
แต่... ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะเลือกสร้างบ้านด้วยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือบ้านโครงสร้างเหล็ก ยังไงก็ต้องใช้เหล็กเหมือนกันนั่นแหละ
เหล็กที่เราจะเห็นบ่อย ๆ ตามงานคอนกรีตทั่วไป คือเหล็กที่ใช้สำหรับการเทพื้นปูน ซึ่งจะเป็นเหล็กเส้น หรือเหล็กข้ออ้อย เห็นกันบ่อยในงานเทพื้นที่คนงานจะนั่งผูกเหล็กตะแกรง วางบนลูกปูนแล้วเทคอนกรีตลงไป
ส่วนงานโครงสร้างที่เป็นโครงสร้างเหล็กทั้งหมดโดยไม่ใช้คอนกรีตเลย จะใช้เหล็กรูปพรรณ ที่นอกจากจะมีความยืดหยุ่นแล้วยังมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มากมีขนาดใหญ่
สิ่งก่อสร้างที่ใช้เหล็กเป็นตัวโครงสร้างรับน้ำหนักก็มีตั้งแต่อาคารสูงจนกระทั่งถึงบ้านอยู่อาศัย โดยเหล็กรูปพรรณในงานโครงสร้างพวกนี้ก็มีอยู่หลายชนิด ตั้งแต่ H-Beam, I-Beam, Cut-beam, Channel, Angle เป็นต้น
ถ้าตัดให้เหลือเฉพาะงานบ้านแล้ว ก็จะเป็นเหล็ก H-Beam ซึ่งคนจะสับสนกับการเลือกใช้เหล็กระหว่างเหล็ก H-Beam กับเหล็ก I-Beam โดยจะขออธิบายคร่าว ๆ แบบนี้ครับ
ถามว่าถ้าอยากเลือกเหล็ก I-beam มาสร้างบ้านจะได้มั้ย? ตอบตามความจริงก็คือ "ได้! แต่ไม่จำเป็น" เพราะแค่คุณสมบัติเหล็ก H-beam ก็แข็งแรงเพียงพอแล้วสำหรับการสร้างบ้านแล้ว
เปรียบกับเวลาจะซื้อ iphone ก็ได้ ถ้าเราใช้งานไม่หนัก (สเกลอาคารบ้าน) ก็ซื้อรุ่นธรรมดาพอ ไม่ต้องขยับไปรุ่นโปร (สเกลอาคารขนาดใหญ่) ให้เสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น
โครงสร้างเหล็กต้องดูแลรักษาเมื่อไหร่?
สำหรับการใช้โครงสร้างเหล็กนั้น วิศวกรโครงสร้างนอกจากจะต้องออกแบบในด้านความแข็งแรง (Strength) ของโครงสร้างแล้ว ด้านความคงทน (Durability) ก็เป็นสิ่งที่ต้องร่วมพิจารณาด้วยนะ
ทั้งนี้เพราะวัสดุอย่าง 'เหล็ก' นั้นมีความพิเศษตรงที่ต้องมีระยะเวลาในการดูแลรักษา เพื่อความปลอดภัย สำหรับอาคารแต่ละประเภทตามปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่ออายุการใช้งานของอาคาร
โดยค่ามาตราฐานแนะนำของอายุการใช้งาน* และการดูแลรักษาซ่อมแซมขั้นต่ำโครงสร้างเหล็กรูปพรรณประเภทต่าง ๆ มีระยะเวลาวงรอบการดูแลรักษาตามนี้เลย
บอกก่อนนะว่ารอบการดูแลรักษาข้างต้นนั้นเป็นเพียงค่ามาตรฐานที่แนะนำเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะกำหนดตามความประสงค์ของเจ้าของอาคารนั่นแหละ
ซึ่งนอกจากค่าแนะนำในการซ่อมแซมโครงสร้างเหล็กแล้ว ส่วนที่มีผลต่ออายุการใช้งานและการเสื่อมสภาพของโครงสร้างนั้นก็ยังมีในส่วนของ การเตรียมพร้อมโครงสร้างตั้งแต่เริ่มแรกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกความหนาของโครงสร้างที่เหมาะสม การเตรียมผิวของเหล็ก การลงสีรองพื้นและสีทับหน้า เป็นต้น
เพราะหากทำไม่ถูกวิธีก็จะทำให้เหล็กเสื่อมสภาพได้เร็ว และอีกส่วนคือในส่วนของสภาพแวดล้อมที่อาคารตั้งอยู่
หากอาคารตั้งอยู่ใกล้น้ำทะเลหรือน้ำกร่อยที่มีไอระเหยจากน้ำทะเล หรือคลื่นน้ำเสียดสีโครงสร้างอยู่ตลอด รวมถึงหากเป็นบริเวณใกล้โรงงานที่มีสารละลายกัดกร่อนอยู่สูง
ก็มักจะมีแนวโน้มว่าโครงสร้างเหล็กอาจเสียหายจากการถูกกัดกร่อนของสารเคมีเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องมีรอบการบำรุงรักษาที่ถี่ขึ้นไปด้วย
ถ้าเหล็กคุณภาพดีก็สบายใจไปได้นาน
จากที่ผมเล่ามาเพื่อน ๆ คงจะพอเข้าใจความแข็งแรงทนทานของโครงสร้างเหล็กกันแล้วเนอะ สำหรับคนทั่วไป 'โครงสร้างเหล็ก' เป็นโครงสร้างอีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัวและน่าสนใจมาก ๆ
ที่สำคัญคือถ้าเลือกใช้แล้วก็ต้องเลือกเหล็กรูปพรรณให้ถูกชนิด อาจจะลองสอบถามผู้รับเหมาดูว่าเหล็กแต่ละส่วนที่ใช้เป็นเหล็กชนิดไหนก็ได้ครับ
ซึ่งถ้าเป็นงานโครงสร้างบ้าน อาคาร ส่วน เสา-คาน ผมก็แนะนำให้ใช้เป็นเหล็ก H-beam เป็นมาตรฐานขั้นต้นนะ แข็งแรง ทนทานเหมาะกับสเกลบ้านแน่นอน
แล้วถ้าอยากให้บ้าน ให้อาคารที่ก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กนั้นมีอายุการใช้งานยาวนาน ก็อย่าลืมเลือกใช้เหล็กจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพด้วย
เพราะแม้โครงสร้างเหล็กจะมีความแข็งแรงทนทานแค่ไหน แต่ก็ต้องหมั่นดูแลรักษาและตรวจสอบอยู่เสมอ ถ้าไม่อยากพลาดก็ต้องเลือกวัสดุดี ๆ ตั้งแต่ต้นนี่แหละ
แถมถ้าวันนึงเราอยากแก้ไข ต่อเติม หรือรื้อถอนอาคารออกไปก่อสร้างที่ใหม่ ถ้าเหล็กมีคุณภาพและติดตั้งถูกวิธี ก็ยังสามารถเอาเหล็กไปขายต่อหรือไปใช้ต่อได้
ซึ่งถ้าคิดในแง่นี้... โครงสร้างเหล็กที่แม้จะมีต้นทุนของวัสดุที่สูงกว่าก็จะมีราคาที่ไม่แตกต่างจากบ้านปูน บ้านคอนกรีตทั่วไปเลยครับ
ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนที่สนใจนำเหล็ก เอชบีม-ไอบีม ไปใช้ในการก่อสร้างก็ลองไปติดต่อสอบถามกับทาง Siam Yamato Steel (SYS) กันดูได้ครับ จากประสบการณ์ร่วมงานกันมาไม่เคยผิดหวังเลย
วันนี้อาจจะพานอกเรื่องคอนโด เรื่องอสังหาไปบ้าง แต่ถ้าใครมีแผนสร้างบ้าน สร้างอาคารของตัวเองอยู่ ผมว่าบทความนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยครับ
แม้ผลิตภัณฑ์เหล็กจะมีมากมาย แต่อย่าลืมนะครับว่าบ้านของเรานั้นมีหลังเดียว จะเลือกใช้เหล็กทั้งที ต้องเลือกจากผู้ผลิตที่มีประสบการณ์นะค้าบบบ บ๊ายบายยย :)
ข้อมูลอ้างอิง
Tag : SYS | Siam Yamato Steel | โครงสร้างเหล็ก
นี่คือคอนโดที่ใกล้ "ลานชมเมืองภูเก็ต" บนเขารังมากที่สุด ทำให้คุณเห็นวิวเมืองภูเก็ตสวยๆตัดภูเขา ทะเล และท้องฟ้า ได้อย่างเต็มตา
ไม่อยากจะเชื่อว่า คอนโดที่มีค่าตัวเริ่มระดับ 7 หมื่นกลางๆ/ตร.ม. จะให้ สุขภัณฑ์อัตโนมัติ WASHLET (แบบที่ใช้ที่ญี่ปุ่นอ่ะ)
นอกจากทำเลติดถนนพระรามสี่อันโดดเด่นแล้ว ความน่าสนใจของ "The Crown Residences" แห่งนี้ ก็คือ "วิว" ที่หาได้ยากกกมว๊ากกกนี่ละ
เจ้าพ่อทำเลริมถนนเพชรเกษมนี่จะเป็นใครไปไม่ได้แล้วนอกจาก "ชัยพัฒนาที่ดิน"
"Asakan Elysium Phahol 59 Station" (อัสสกาญจน์ อีลิเซียม พหลฯ 59) จาก ASAKAN DEVELOPMENT คอนโดใกล้รถไฟฟ้าสถานีพหลโยธิน 59 เพียง 50 ม. เท่านั้น!!
'So Origin Sukhumvit 105' (โซ ออริจิ้น สุขุมวิท 105) ถ้ารู้สึกว่าชื่อมันฟังดูแล้วคุ้นๆ หูจังแหะ ใช่ครับ มันคือตัวเดียวกับ 'โซ ออริจิ้น ลาซาล' นั่นแหละ เปลี่ยนตัวห้อยท้ายนิดหน่อย (แต่ส่วนตัวแอบชอบชื่อเก่ามากกว่า)
ไหนใครกำลังจะรีไฟแนนซ์กันบ้าง ใครกำลังผ่อนบ้านอยู่เพลิน ๆ นี่ห้ามลืมเด็ดเลยนะ เพราะหนี้บ้านพอพ้น 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดเลย
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง...
ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT พระราม 9 ประมาณ 420 ม. เป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญวิ่งเป็น Loop เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายอื่นมากมาย จะไปไหนก็ง่ายดาย
‘ภูมิสถาปนิค‘ ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า “Lanscape โครงการนี้สวยที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ไม่มีที่ไหนใกล้เคียงความเป็น ‘สวนแบบ Classic’ ที่เป็น ‘quite luxury’ ได้เท่านี้แล้ว“
เฮ้ย! เนื้อที่ดีมันเป็นแบบนี้นี่เอง 5555
นูเทลล่า ทำมาจากถั่วเฮเซลนัท และ ช็อคโกแล็ต ช็อคโกแล็ตมาจากต้นโกโก้ ถั่ว และ โกโก้ = พืช พืช = ผัก กินผัก = ผอม โอเค กินเมนูนี้ได้แบบไม่รู้สึกผิดแล้ว 5555