ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์อีกหัวข้อคงหนีไม่พ้นข่าว โกตาบายา ราชปักษา ประธานาธิบดีศรีลังกาหนีออกนอกประเทศไปยังมัลดีฟส์โดยเครื่องบินเจ็ทของกองทัพศรีลังกา ที่ทิ้งให้ชาวศรีลังกาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์เลยทีเดียวครับ
แต่ก่อนที่โกตาบายา จะหนีออกนอกประเทศได้สำเร็จ เราก็คงต้องย้อนกันไปหน่อยครับว่า แล้วทำไมต้องหนีด้วย? มันเกิดอะไรขึ้นที่ประเทศศรีลังกากันล่ะเนี้ย!!
วันนี้ผมจะมาสรุปให้อ่านกันคร่าวๆ ครับเผื่อใครไม่ได้ตามข่าว เพราะบอกเลยว่าวิกฤตที่ศรีลังกาต้องเผชิญในเหตุการณ์นี้ แอบน่ากลัวเพราะหลายๆ ภาคส่วนเริ่มกังวลกันว่าอาจจะเกิดโดมิโนเอฟเฟกต์ไปยังประเทศอื่นๆ อีก้ด้วยฮะ
ก่อนจะเกิดเหตุการณ์นี้ เราก็คงต้องย้อนกันไปเมื่อปี 2562 กันก่อน ซึ่งปี 2562 เป็นปีที่ โกตาบายา ราชปักษา ชนะการเลือกตั้ง โดยประธานาธิบดีคนนี้เนี้ย เค้ามีการออกนโยบายหลายอย่างฮะ อาทิ การลดหย่อนภาษีจำนวนมาก และการห้ามนำเข้าสินค้าและใช่ครับ นโยบายเหล่านี้แหละที่ทำให้ศรีลังกาต้องเผชิญกับวิกฤติที่เลวร้ายเช่นนี้
ต้นตอเนี้ย ไม่ได้มีแค่นโยบายอย่างเดียวครับ เพราะยังมีปัจจับที่คนทั้งโลกไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างวิกฤติโควิด-19 ศรีลังกาเป็นอีกประเทศครับที่พึ่งพารายได้จากภาคการท่องเที่ยวและการส่งเงินกลับของแรงงานต่างชาติ
แต่หลังจากที่ทั่วโลกต้อง lockdown จึงส่งผลให้เศรษฐกิจศรีลังกายิ่งถูกซ้ำเติมเข้าไปอีก โดยรายได้ภาคการท่องเที่ยวหดตัวลงเหลือเพียง 0.8% ต่อจีดีพี ขณะที่ก่อนวิกฤติโควิด อยู่ที่ 5% ต่อจีดีพีเลยทีเดียว
อ่ะ แต่เราจะบอกว่าเพราะโควิดและนโยบายของรัฐบาลอย่างเดียวก็อาจจะไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดเพราะจริงๆ แล้วศรีลังกาเป็นประเทศที่ต้องบอกว่า มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจและการเงินอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะและหนี้ต่างประเทศสูง ยิ่งพอมาเจอทั้งโควิด ระดับหนี้โดยรวมของศรีลังกาจึงยิ่งสูงขึ้นไปอีก ผนวกกับโครงการจัดการหนี้ของศรีลังกา ซึ่งขึ้นอยู่กับการเข้าถึงตลาดเหล่านั้นทำให้ทุนสำรองที่ลดลงเกือบ 70% ในเวลาสองปี
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดไม่พอ เพราะหลังจากเปิดปี 2565 ไม่นาน ทั่วทั้งโลกยังต้องเผชิญกับสถานการณ์เงินเฟ้อและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากเหตุสงคราม รัสเซีย-ยูเครน เหตุการณ์นี้เลยยิ่งทำให้ศรีลังกาต้องเจอกับการอ่อนค่าลงของเงินรูปี และทำให้ระดับทุนสำรองฯ ลดลงไปด้วย
ในเมื่อเงินสำรองอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ศรีลังกาไม่สามารถนำเข้าสินค้าที่จำเป็นเพื่อเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในประเทศได้ ส่งผลให้ชาวศรีลังกาต้องเผชิญกับสถานการณ์ขาดแคลนอาหารและพลังงานอย่างหนักตามที่ปรากฏในข่าว แน่นอนครับ ในเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้จะให้อยู่เฉยๆ ก็กระไรอยู่ เหตุการณ์ประท้วงจึงเริ่มตามมาอย่างที่เห็นครับ ซึ่งเราสามารถไล่เรียงลำดับไทม์ไลน์ได้ดังนี้ครับ
รัฐบาลประกาศตัดไฟฟ้า
ภาพประชาชนเข้าแถวยาวเหยียดหลังจากรัฐบาลประกาศหยุดขายน้ำมัน
วันที่ 1 เมษายน จากเหตุการณ์ประท้วง ส่งผลให้รัฐบาลประกาศประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศและมอบอำนาจให้ฝ่ายความมั่นคงในการจับกุมและฝากขังผู้ต้องสงสัย
วันที่ 2 เมษายน รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวเป็นเวลา 36 ชั่วโมงทั่วประเทศ ก่อนจะถูกยกเลิกต่อมาในวันที่ 4 เมษายน
วันที่ 3 เมษายน รัฐบาลปิดกั้นการเข้าถึงโซเชียลมีเดียชั่วคราว ก่อนจะถูกยกเลิกต่อมาโดยคำสั่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของศรีลังกา สมาชิกคณะรัฐมนตรีทั้งหมดลาออกหลังการประชุมในช่วงดึกของวัน ทำให้
วันที่ 5 เมษายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังลาออก หลังพึ่งถูกแต่งตั้งได้เพียง 1 วัน และรัฐบาลสูญเสียเสียงข้างมากในสภา
วันที่ 9 เมษายน ประชาชนราวหมื่นคนเดินขบวนไปชุมนุมและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีราชปักษาลาออกจากตำแหน่ง
วันที่ 10 เมษายน บุคลากรทางการแพทย์ในศรีลังกาออกมาเผยว่ายารักษาผู้ป่วยใกล้หมดรวมถึงปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ อาทิ ไฟฟ้า
วันที่ 12 เมษายน ประกาศว่าจะพักชำระหนี้กว่า 51 พันล้านดอลล่าร์
วันที่ 19 เมษายน ตำรวจสังหารผู้ประท้วงเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการประท้วงเกิดขึ้นในเดือน
วันที่ 10 มิถุนายน UN เตือนศรีลังกาว่าอาจต้องเผชิญกับ วิกฤติแห่งมนุษยชาติขั้นรุนแรง โดยมีรายงานว่า มากกว่า 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดต้องบริโภคลดลง จากการขาดแคลนอาหารในประเทศ
วันที่ 27 มิถุนายน รัฐบาลประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์ เพื่อสงวนไว้ใช้เฉพาะรถงานบริการที่จำเป็น
วันที่ 9 กรกฎาคม โกตาบายา ราชปักษา หลบหนีไปอยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่ถูกเปิดเผย ก่อนประชาชนศรีลังกาเข้ายึดบ้านพักเพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีลาออกในทันที
วันที่ 13 กรกฎาคม โกตาบายา ราชปักษา เดินทางลี้ภัยออกจากศรีลังกาไปยังมัลดีฟส์ด้วยเครื่องบินทหาร
วันที่ 15 กรกฎาคม จดหมายลาออกของนายโกตาบายา ราชปักษา ถูกส่งทางอีเมลถึงโฆษกรัฐสภาศรีลังกา ซึ่งให้ข้อมูลว่ากระบวนการลาออกของนายโกตาบายาจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์และถูกประกาศอย่างเป็นทางการในวันนี้
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในประเทศศรีลังกายังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และมีการเคลื่อนไหวแบบวันต่อวัน
เพราะสถานการณ์เหล่านี้ไม่ใช่แค่เพียงความไม่สงบทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่คนทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ยังคงให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง
ยิ่งล่าสุดผู้บริหารกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอาจเสี่ยงต่อปัญหาในลักษณะเดียวกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในศรีลังกาถือได้ว่าเป็นสัญญาณเตือน แน่นอนครับว่าทางเราก็หวังอ่ะนะครับว่าประเทศไทยคงไม่ต้องพบเจอกับจุดเดียวกับศรีลังกา
Tag : Srilanka protests |
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป