บทสรุปหลังเจรจากันมาร่วม 20 ครั้ง จะรวมสัมปทานเดิม (หัวลำโพง-บางซื่อ) ระยะทาง 20 กม. สิ้นสุดปี 2572 กับส่วนต่อขยาย 27 กม. เป็นสัมปทานเดียวกัน และสิ้นสุดพร้อมกันในปี 2592 เพื่อให้การเดินรถมีความต่อเนื่อง (Through Operation) เป็นโครงข่ายเดียวกันด้วยผู้เดินรถรายเดียวตลอดระยะเวลา 30 ปี
เหตุผลที่ต้องรวบการเดินรถเป็นสัมปทานเดียวกัน เนื่องจากการดำเนินโครงการส่วนต่อขยายต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก แต่มีรายได้น้อย เพราะ รฟม.จะจัดเก็บค่าโดยสารสายสีน้ำเงินเป็นโครงสร้างอัตราเดียวตลอดสายไม่เกิน 42 บาท มีค่าแรกเข้าครั้งเดียว
เพื่อให้ค่าโดยสารมีราคาถูกเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทำให้โครงการมีผลตอบแทนการลงทุนต่ำอยู่ที่ 9.75% แต่เอกชนก็ใจถึงไม่ให้รัฐชดเชยรายได้แต่อย่างใด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ขอรัฐชดเชยให้ 10 ปีแรกของการให้บริการ หากผู้โดยสารไม่ถึงเป้า
สำหรับผลการเจรจาที่ยุติ จะคิดผลตอบแทนแยกเป็น 2 ส่วน แต่ยังคงผลประโยชน์ตามสีน้ำเงินเดิม คือ ตามสัญญาสัมปทานเดิมถึงปี 2572 รัฐจะได้ผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 28,577 ล้านบาท
ขณะที่ส่วนต่อขยายจะแบ่งตามผลตอบแทนโครงการหาก IRR อยู่ที่ 9.75-11% ส่วนแบ่งรายได้ รฟม.กับ BEM อยู่ที่ 50 : 50 มากกว่า 11-15% อยู่ที่ 60 : 40 มากกว่า 15% อยู่ที่ 75 : 25
โดยมีการคาดการณ์กันว่า หากผู้โดยสารมาตามนัด รฟม.จะได้ส่วนแบ่งรายได้ในปีที่ 20 แต่หากพลาดเป้า คาดว่าจะเป็นปีที่ 29-30
จากหนทางยาวไกลกว่ารัฐจะได้รับผลตอบแทน ทำให้ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" มีคำสั่งปิดผนึกถึง รฟม.จ้างบุคคลที่ 3 มาตรวจสอบรายรับรายจ่ายของ BEM อย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดการสอดไส้ในการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนระหว่างรัฐ-เอกชน
เพราะตัวเลขที่ออกมา มาจากการพยากรณ์ความน่าจะเป็น ที่ทำเป็นโมเดลขึ้นมาเจรจาระหว่างรัฐ-เอกชน ไม่มีใครทำนายได้ล่วงหน้าเมื่อถึงปีเปิดบริการในปี 2563 คนจะมาใช้บริการมากน้อยแค่ไหน
แม้ว่ารถไฟฟ้าสายนี้จะวิ่งเชื่อมกันเป็นวงกลมระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯกับฝั่งธนบุรีแต่BEMมีบทเรียนสายสีน้ำเงินเดิมเปิดมากว่า 13 ปี ผู้โดยสารยังเฉลี่ยอยู่ที่ 2.8 แสนเที่ยวคนต่อวัน ต่ำจากเป้า 4 แสนเที่ยวคนต่อวัน
ขณะที่สายสีม่วง (เตาปูน-คลองบางไผ่) ที่ รฟม.จ้าง BEM เดินรถ คนใช้บริการ 3 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน ต่ำจากเป้าเดิม 1.2 แสนเที่ยวคนต่อวัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยังไม่เชื่อมกับสีน้ำเงินเดิม เลยทำให้คนเมิน ซึ่ง รฟม.ต้องมาวัดดวงอีกครั้งหลังเชื่อมกันแล้ว ส.ค.นี้ ยอดคนใช้จะพุ่งสักเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าน่าจะไม่เกิน 4 หมื่นคนต่อวัน
เช่นเดียวกับ BEM ก็ต้องวัดดวงส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินจะมาดึงคนใช้บริการได้ตามเป้า 8 แสนเที่ยวคนต่อวัน อย่างที่หวังได้หรือไม่
เพราะสายนี้ BEM รับความเสี่ยงไปเต็ม ๆ ตลอด 30 ปี โดยมีรายได้จากค่าโดยสารและพัฒนาพื้นที่สถานีเป็นผลตอบแทนกลับคืน
หากผู้โดยสารมาตามนัดแบบถล่มทลายรัฐก็ได้ส่วนแบ่งรายได้เร็วขึ้นแต่ถ้าช้าก็ร้องเพลงรออีก20-30 ปี
ที่มา : prachachat.net
Tag :
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งตารอเวลาไปงานแถลงข่าวต้นปีของ AssetWise ก็คือ "ชื่อ" ของโครงการใหม่ๆในปีนั้นนั่นละครับ ยอมรับเลยว่า เป็น Dev ที่ตั้งชื่อโครงการได้แปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ไพเราะเสนาะหู ช่างสรรหาจริงๆ 555
นาทีนี้จะมีทำเลไหนร้อนแรงเท่า 'พระราม 4' ตั้งแต่การมาของอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่อย่าง One Bangkok ก็ดูเหมือนว่า ย่านที่ปังอยู่แล้วตรงนี้ จะยิ่งทวีคูณความปังสุดเข้าไปอีกระดับ
AP ที่เตรียมตัวปักหมุดใกล้ BTS ไปหมาดๆ แต่ต้องบอกว่าปีนี้ AP มาเพื่อบุกย่านอุดมสุข ของแทร่!!
โรงแรมใหม่มาเติมเมืองอีกแล้ว ยังไม่แน่ใจว่าจะลงเป็นเชนอะไร แต่ตัวนี้ตั้งติด MRT สถานีศูนย์วัฒนธรรมเลยครับ
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?
'บิวกิ้นแม่งเล่นโคตรตลก' นี่คือคำพูดที่ผมพูดกับเพื่อนหลังดูภาพยนตร์เรื่อง 'ซองแดงแต่งผี' จบ
เปิดภาพแรกสนามบินภูฏานโฉมใหม่ สนามบินแห่งชาติที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของภูฏานตลอดไป
ยกให้เป็นร้านผลไม้เคลือบน้ำตาลที่ผมชอบที่สุด อร่อยที่สุด และหากินยากที่สุดด้วย!!!
เปิด “สโคป ทองหล่อ” อัลตร้าลักซ์ชูรี All-Penthouse แห่งแรกในไทย สร้างเสร็จสมบูรณ์บนทำเลทองย่านสุขุมวิท-ทองหล่อ